Peer Story

เงินทุนหมุนเวียน Working Capital กับการเติบโตของธุรกิจและโอกาสลงทุนความเสี่ยงต่ำ

by
June 7, 2022

เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) การเติบโตของธุรกิจและโอกาสลงทุนความเสี่ยงต่ำ

เงินทุนหมุนเวียน เส้นเลือดหล่อเลี้ยงธุรกิจ

เงินทุนหมุนเวียน หมายถึงส่วนต่างระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียน กับหนี้สินหมุนเวียนของธุรกิจคนทำธุรกิจอาจจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “ธุรกิจขาดทุนยังอยู่ได้ แต่ถ้าขาดเงินสดเมื่อไหร่อยู่ได้ไม่นาน” นั่นก็เพราะการขาดเงินสดทำให้บริษัทขาดสภาพคล่อง นอกจากจะไม่มีทุนไปขยายธุรกิจแล้ว ยังส่งผลเสียในด้านต่าง ๆ เช่น ไม่สามารถชำระเงินเจ้าหนี้ได้ตามกำหนด ไม่มีเงินไปซื้อวัตถุดิบมาผลิตสินค้าเพิ่ม ไม่สามารถจ่ายเงินเดือนให้พนักงานได้ ถ้ามีครบตามที่ว่ามานี้ก็เห็นแวว “เจ๊ง” อยู่รำไร

การ “ขาดทุน” กับการ “ขาดเงินทุน” นั้นไม่เหมือนกัน เพราะหลายครั้งแม้ธุรกิจจะทำกำไรได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเรียกเก็บเงินจากลูกค้าได้ทันที ธุรกิจบางประเภท เช่น รถเข็นขายอาหาร อาจเป็นตัวอย่างที่ดีของธุรกิจที่ขายแล้วได้เงินสดทันที แต่ธุรกิจอีกหลายประเภทหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการ “ขายเงินเชื่อ” หรือติด “เครดิต” ไม่ว่าจะเป็นการรับชำระด้วยบัตรเครดิต หรือการขายสินค้าและบริการมูลค่าสูงขึ้นที่มักต้องส่งสินค้าให้ลูกค้าก่อนพร้อมกับวางบิลหรือ invoice แล้วลูกค้าจึงจะชำระเงินทีหลัง จะเก็บเงินได้เมื่อไหร่ก็ขึ้นกับ credit term ที่ตกลงกันว่าลูกค้าต้องชำระเงินภายในเวลาเท่าไหร่ ด้วยธรรมชาติของธุรกิจเช่นนี้ เงินทุนหมุนเวียนจึงเป็นเหมือนเส้นเลือดที่สำคัญในการหล่อเลี้ยงธุรกิจให้ดำเนินกิจการอยู่ได้

ธุรกิจสายป่านสั้นเสียเปรียบในการแข่งขัน

เราลองมาดูตัวอย่างรายรับรายจ่ายของธุรกิจแบบง่าย ๆ กันบริษัท A ผลิตเครื่องนอนขายให้เครือโรงแรมใหญ่ในประเทศไทย วันหนึ่งทางบริษัทได้รับออร์เดอร์ให้ผลิตเครื่องนอนมูลค่า 100 ล้านบาท โดยในใบสั่งซื้อระบุระยะเวลาการชำระเงินภายใน 30 วันหลังได้รับสินค้า การผลิตครั้งนี้มีต้นทุน 60 ล้านบาท บริษัท A ใช้เวลาผลิตสินค้า 1 เดือน นั่นทำให้

  • เมื่อเริ่มต้นผลิต บริษัทมีค่าใช้จ่าย 60 ล้านบาทระหว่างผลิตสินค้า เงินสดติดลบ 60 ล้านบาท
  • เดือนที่ 1 บริษัทส่งสินค้าพร้อมวางบิลกับโรงแรมมูลค่า 100 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้รับเงินเนื่องจากโรงแรมจะชำระภายใน 30 วันหลังได้รับสินค้า เงินสดของบริษัทยังคงติดลบ 60 ล้านบาท
  • เดือนที่ 2 โรงแรมชำระเงิน 100 ล้านบาท ทำให้บริษัทมีเงินสดเข้ามา เมื่อเอาไปโปะต้นทุนแล้วยังเหลือเงินกำไร 40 ล้านบาท
working capital เงินทุนหมุนเวียน เมื่อไม่มีการกู้เงินทำธุรกิจ

จะเห็นได้ว่าบริษัทจะมีช่วงที่เงินสดติดลบอยู่ถึง 2 เดือนกว่าจะกลับมาเป็นบวกเมื่อเก็บเงินจากลูกค้าได้ ยิ่งถ้าในเดือนที่ 1 มีออร์เดอร์เข้ามาเพิ่มอีกที่ต้องใช้ต้นทุนเพิ่ม 60 ล้านบาท ก็เท่ากับว่าบริษัทจะติดลบเงินสดถึง 120 ล้านบาท แม้จะมีออร์เดอร์สินค้าเข้ามา กำไรก็เพิ่มขึ้น กิจการก็เติบโต (แต่ลูกค้ายังไม่ชำระเงิน) คำถามสำหรับธุรกิจก็คือ จะทำอย่างไรให้ได้เงิน 60 ล้านแรกมา หรือถ้าคุณเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ที่ปกติรับออร์เดอร์ทีละ 10 ล้าน ได้กำไรทีละ 4 ล้านก็สามารถหมุนเงินได้คล่องตัวดีอยู่หรอก แต่พอวันหนึ่งโอกาสดี คุณได้รับออร์เดอร์ใหญ่ขนาด 100 ล้าน แต่จะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายค่าต้นทุน 60 ล้านแรกเพื่อให้ได้กำไร 40 ล้านในภายหลัง

ทำไมต้องกู้มาเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน

ธุรกิจทั่วไปอาจมี credit term ให้ลูกค้าเป็นเวลา 30 วันบ้าง 60 วันบ้าง นั่นหมายถึงกว่าธุรกิจจะได้รับเงินสดคืนมา ต้องรอถึง 1-2 เดือน แต่ยิ่งถ้าเป็นโครงการใหญ่ ๆ หรือบางโครงการที่ทำกับส่วนราชการ บางทีก็ต้องรอกันนานหลายเดือนกว่าจะเบิกจ่ายได้ครบถ้วน ซึ่งหมายความว่าธุรกิจเล็ก ๆ ที่สายป่านสั้นแทบจะหมดสิทธิ์รับโครงการเหล่านี้เพราะไม่สามารถเอาเงินมาหมุนได้ทัน ต้องพลาดโอกาสเติบโตในธุรกิจไปอย่างน่าเสียดาย เงินกู้ระยะสั้น รวมทั้งหุ้นกู้ (bond) ระยะสั้น จึงเป็นทางออกหนึ่งให้ธุรกิจขนาดเล็ก-กลางที่มีศักยภาพได้มีโอกาสเติบโต สามารถแข่งขันกับธุรกิจใหญ่สายป่านยาวได้อย่างเท่าเทียมมากขึ้น

เราลองมาดูกันว่าบริษัท A เจ้าเดิม หากมีการออกหุ้นกู้ระยะสั้นเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง จะมีสถานะทางการเงินเป็นอย่างไร

เงินทุนหมุนเวียน เมื่อธุรกิจมีการกู้เงินหรือขอสินเชื่อธุรกิจ

ถึงแม้บริษัท A จะต้องจ่ายดอกเบี้ยและค่าดำเนินการรวม 2 ล้านบาท แต่หุ้นกู้ระยะสั้นนี้ก็ยังคุ้มค่าเนื่องจากทำให้บริษัทมีโอกาสรับงานมูลค่า 100 ล้านบาท และยังได้กำไร 38 ล้านบาทเป็นทุนสำหรับโครงการในอนาคต แถมยังเปิดโอกาสให้บริษัทได้สร้างผลงานและมีคอนเนคชันกับลูกค้ารายใหญ่ต่อไปด้วย

หุ้นกู้ระยะสั้นเพื่อเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ = ความเสี่ยงต่ำสำหรับนักลงทุน และสภาพคล่องสำหรับธุรกิจ

หุ้นกู้ระยะสั้น (short-term bond) ประเภท Trade Financing Bond หรือหุ้นกู้หมุนเวียนการค้า ที่เพียร์ พาวเวอร์เปิดระดมทุน เป็นหุ้นกู้ระยะเวลาสั้นเพียง 1-3 เดือน ซึ่งมีข้อดีทั้งต่อเจ้าของกิจการและนักลงทุน

สำหรับเจ้าของกิจการแน่นอนว่าได้ประโยชน์จากสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น มีเงินทุนเพื่อนำไปรับออร์เดอร์ผลิตสินค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้การออกหุ้นกู้เฉพาะจำนวนที่จำเป็นต้องใช้ ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่าที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้นยังช่วยให้เจ้าของกิจการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพราะยิ่งออกหุ้นกู้ระยะยาวในมูลค่าสูง ก็ยิ่งมีภาระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสูงตามไปด้วย

มาดูในมุมนักลงทุนกันบ้าง หุ้นกู้ระยะสั้น 1-3 เดือน ถือว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าหุ้นกู้ระยะยาวด้วยเหตุผล 3 ประการ นั่นคือ

1. ความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยน้อยกว่า ยิ่งหุ้นกู้ที่คุณถือมีระยะครบกำหนดเร็ว ก็หมายความว่าคุณจะได้รับเงินคืนเพื่อไปซื้อหุ้นกู้ตัวอื่น หรือลงทุนในสินทรัพย์อื่นได้อย่างรวดเร็วหากอัตราดอกเบี้ยในตลาดมีการปรับตัวสูงขึ้น

2. ความเสี่ยงน้อยกว่าจากการผิดนัดชำระหนี้ (default) เพราะหุ้นกู้ลักษณะนี้เพียร์ พาวเวอร์จะพิจารณาให้โดยดูจากยอดออร์เดอร์ที่ธุรกิจมีอยู่ในมือ โดยบริษัทต้องส่งหลักฐานยืนยันว่ามีออร์เดอร์เข้ามาในมูลค่าดังกล่าวจริง ในแง่นี้ความเสี่ยงจึงน้อยกว่าการออกหุ้นกู้มูลค่าสูง ๆ ในคราวเดียวโดยยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าธุรกิจจะได้รับผลตอบแทนตามคาดหรือไม่ นอกจากนี้เรายังมีการตรวจสอบผลประกอบการของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ Trade Financing Bond เป็นประจำทุกเดือนเพื่อให้มั่นใจในความสามารถการชำระหนี้ของบริษัท

3. ความเสี่ยงน้อยกว่าจากการที่บริษัทล้มละลาย การที่หุ้นกู้มีระยะสั้นเพียง 1-3 เดือนย่อมหมายความว่านักลงทุนเผชิญความเสี่ยงน้อยกว่าจากการที่บริษัทจะล้มละลายในระยะเวลาอันสั้น

เรียกได้ว่าหุ้นกู้ระยะสั้นเพื่อเงินทุนหมุนเวียนสำหรับธุรกิจนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ win-win ได้ประโยชน์ทั้งในมุมผู้ประกอบการที่มีโอกาสเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งเจ้าใหญ่ ๆ และในมุมนักลงทุนที่ได้โอกาสลงทุนในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำกว่า นับเป็นตัวเลือกในการพักเงินที่ดีในช่วงเศรษฐกิจผันผวนที่นักลงทุนต้องการความยืดหยุ่นสูง

หุ้นกู้ Trade Financing Bond ของเพียร์ พาวเวอร์เป็นหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง (debt crowdfunding หรือ crowdfunding bond) ที่ให้อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 8% โดยเราคัดเลือกบริษัทขนาดกลางศักยภาพสูงที่มีผลประกอบการเติบโตดี เพื่อสนับสนุนให้กิจการเหล่านี้มีโอกาสขยายได้เต็มศักยภาพ และเป็นทางเลือกกระจายความเสี่ยงให้นักลงทุน นักลงทุนที่สนใจสามารถเปิดบัญชีลงทุนกับเราได้ฟรีที่นี่

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร