The Basics

Lending Based Crowdfunding กับ ความเท่าเทียมทางการเงิน

by
August 20, 2019

Lending Based Crowdfunding คือ หนึ่งในรูปแบบการระดมทุนแบบ คราวด์ฟันดิง ที่เน้นการระดมทุนจากคนหลาย ๆ คน เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง

  • การระดมทุนแบบ คราวด์ฟันดิง ในลักษณะของการให้สินเชื่อดังกล่าว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ Debt Crowdfunding และ Equity Crowdfunding ระดมทุนเพื่อโครงการหรือธุรกิจ กับ Peer to Peer Lending คือการระดมทุนเพื่อบุคคล
  • Debt Crowdfunding กับ Peer to Peer Lending ผู้กู้ยืมจะชำระคืนเป็นเงินพร้อมผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยตามตกลง (Fixed Income) แต่ Equity Crowdfunding ผู้กู้ยืมจะมอบสิทธิในความเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้ส่วนเสียให้กับผู้ให้กู้ ผลตอบแทนจึงแล้วแต่ผลประกอบการ
  • ในต่างประเทศการระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิง เป็นรูปแบบการให้สินเชื่อซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย แต่ในประเทศไทย การระดมทุนดังกล่าว ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก และเพิ่งเกิดขึ้นตามกฎหมายได้ไม่นาน โดยแยกออกเป็น Debt Crowdfunding ภายใต้การกำกับดูแลโดยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และ Peer to Peer Lending ซึ่งกำกับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT)
  • การระดมทุนแบบ Crowdfunding ไม่ใช่ แชร์ลูกโซ่ เพราะมีผู้ได้รับผลประโยชน์ที่ชัดเจน ผู้กู้มีสถานะเป็นลูกหนี้ ส่วนผู้ให้กู้มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ มีสัญญาที่ต้องชำระคืนซึ่งถูกต้องตามกฎหมาย

Lending Based Crowdfunding โอกาสการเข้าถึงความเท่าเทียมทางการเงิน

การเข้าถึงโอกาสทางการเงินเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานทั้งในแง่มุมของเศรษฐกิจ และสังคม เพียร์ พาวเวอร์ เชื่อว่าเราคงเคยได้ยินคำตอบประมาณว่า มันคือการทำให้คนจำนวนมากได้รับบริการทางการเงินที่เท่าเทียม สามารถใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฯลฯ และแน่นอนว่าเราจะมีคำถามในใจคล้าย ๆ กันคือ อย่างไร? ซึ่งคำตอบไม่ง่ายเลย และเราได้เห็นความพยายามในการขยายโอกาสทางการเงินจากทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งหนึ่งในความพยายามนั้นเป็นไปในรูปแบบการให้สินเชื่อที่เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน นั่นคือ การระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิ้ง ที่เป็นส่วนหนึ่งของการระดมทุน

Lending Based Crowdfunding คืออะไร

เพียร์ พาวเวอร์เคยพูดถึง Crowdfunding หรือ คราวด์ฟันดิ้ง ไปแล้วครั้งหนึ่งในฐานะการระดมทุนซึ่งแบ่งย่อยออกมาได้อีกหลายรูปแบบ การระดมทุนแบบ คราวด์ฟันดิ้ง ในลักษณะของการให้สินเชื่อ ก็ถือเป็นหนึ่งในนั้น โดยเป็นการระดมทุนในลักษณะของการขอสินเชื่อจากผู้ให้สินเชื่อหลาย ๆ คน ซึ่งจะทำผ่านแพลตฟอร์มผู้ให้บริการ เช่น เพียร์ พาวเวอร์เป็นต้น โดยผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม จะเปิดระดมทุนให้กับผู้ขอสินเชื่อ หรือ ผู้ระดมทุน ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดไว้จากนักลงทุน ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ เมื่อการระดมทุนสิ้นสุดลง ทางผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจะดำเนินการให้ผู้ให้ และผู้ขอสินเชื่อได้เซ็นสัญญากู้ยืม มอบเงินที่ระดมทุนได้ให้กับผู้กู้ และผู้ให้กู้จะได้รับผลตอบแทนตามตกลงในสัญญา ซึ่งจะแบ่งย่อยลงไปได้กว้าง ๆ อีก 3 แบบ

1. Debt Crowdfunding เป็นรูปแบบการระดมทุนที่ผู้ขอสินเชื่อนำโครงการหรือธุรกิจของตนออกมาขอสินเชื่อในแพลตฟอร์มผู้ให้บริการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายในธุรกิจ มักเป็นการขยายธุรกิจหรือเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน โดยมีสัญญาชำระคืนผู้ให้กู้เป็นเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ให้กู้หรือนักลงทุน จะได้รับผลตอบแทนคงที่ (Fixed Income) ตลอดสัญญา ในประเทศไทยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC)

2. Peer to Peer หรือ P2P Lending ลักษณะจะคล้ายสินเชื่อส่วนบุคคลคือ เป็นการขอสินเชื่อที่ผู้กู้มาขอระดมทุนจากผู้ให้กู้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำไปใช้จ่ายส่วนตัว หรือดำเนินธุรกิจก็ได้ ลักษณะการดำเนินการจะเหมือนกับ การระดมทุนคราวด์ฟันดิง แบบ Debt  คือ การระดมทุนผ่านแพลตฟอร์ม โดยมีสัญญากู้ยืม และชำระคืนเป็นงวด ๆ พร้อมดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งให้ผลตอบแทนคงที่ (Fixed Income) คืนให้กับนักลงทุน ซึ่ง การกู้ยืม แบบ Peer to Peer นั้นจะอยู่ใต้การกำกับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT)

3. Equity Crowdfundingถ้าพูดถึงการให้สินเชื่อแล้ว ผู้ให้สินเชื่อมักจะได้รับการชำระคืนเป็นเงินสดพร้อมดอกเบี้ย แต่สำหรับรูปแบบนี้ แม้จะเป็นการนำกิจการมาระดมทุนเหมือนกับแบบแรก แต่ผลตอบแทนที่ได้รับไม่ใช่เงินสดคงที่ แต่เป็นหุ้น หรือผลตอบแทนตามสัดส่วนที่กิจการนั้นนำออกมาระดมทุน ซึ่งอาจสูงสุดได้ถึง 30 % ซึ่งนั่นหมายความว่าผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการด้วย ถ้าธุรกิจนั้นกำไรมากก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนมาก แต่ถ้าขาดทุน หรือกำไรน้อยผลตอบแทนของผู้ให้กู้ก็จะเป็นไปตามผลประกอบการ ซึ่งรูปแบบนี้จะไปคล้ายกับการลงทุนของ Angel Investor ที่ลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพนั่นเอง โดย การระดมทุนในรูปแบบ หุ้น (Equity) ก็อยู่ในการกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) เช่นกัน

Lending Based crowdfunding แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

แล้วการระดมทุน คราวด์ฟันดิงในรูปแบบนี้ เป็นประโยชน์กับใคร

จะเห็นได้ว่า รูปแบบการระดมทุนคราวด์ฟันดิ้งดังกล่าว แทบจะไม่ต่างอะไร จากการขอสินเชื่อจากธนาคาร ซึ่งมีทั้งสินเชื่อเพื่อธุรกิจ และสินเชื่อส่วนบุคคล โดยอาจจะมีข้อแตกต่างบ้าง ในแง่ของ หลักทรัพย์ค้ำประกัน และข้อจำกัดบางข้อ ดังนั้น ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการขอสินเชื่อในรูปแบบดังกล่าว จึงมีด้วยกัน 3 กลุ่ม ใหญ่ ๆ

กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ขอสินเชื่อรายบุคคลแน่นอนว่า ประโยชน์ที่ได้รับของกลุ่มนี้คือเงินที่จะนำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ที่ยื่นขอสินเชื่อไป และเป็นเงินก้อน

กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ ทั้ง ธุรกิจรายเล็ก อย่างเอสเอ็มอี (SME) และสตาร์ทอัพ (Startup) ที่จะได้รับเงินทุนหมุนเวียนได้ทันช่วงเวลาที่ต้องขยายกิจการ ซึ่งในบางครั้ว กระบวนการ ขั้นตอนในการขอทุน อาจจะเร็วกว่าการขออนุมัติจากทางธนาคาร

กลุ่มที่ 3 กลุ่มนักลงทุนเนื่องจากการระดมทุนแบบ Lending Based Crowdfunding เป็นรูปแบบการระดมทุนแบบใหม่ ที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ดี ทำให้นักลงทุนที่แสวงหาการลงทุนรูปแบบใหม่ ๆ สนใจลงทุนมากขึ้น

ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น

ในฐานะที่เพียร์ พาวเวอร์ เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มในรูปแบบ การระดมทุนคราวด์ฟันดิง รายแรกในประเทศไทย เราพบว่า บริการทางการเงินที่เป็นรูปแบบใหม่นี้ ถูกเข้าใจผิดบ่อย ๆ ซึ่ง เพียร์ พาวเวอร์ ขอยกตัวอย่างกรณีที่หนัก ๆ มาเล่าสู่กันฟัง

Lending Based crowdfunding กับความเข้าใจผิด

เป็นการหลอกลวงเหมือน "แชร์ลูกโซ่" กรณีนี้น่าจะเกิดจากความสับสนเพราะคำว่าการระดมทุน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แชร์ลูกโซ่คือการที่นำเงินมาลงทุนต่อกันเป็นทอด ๆ โดยมีแต่คนที่เริ่มต้นเท่านั้นที่จะได้เงินทั้งหมดไป และไม่มีการชำระคืน และไม่มีสัญญาใด ๆ ที่จะต้องชำระคืน ในขณะที่การระดมทุน Crowdfunding เป็นการให้สินเชื่อ ผู้กู้เป็นลูกหนี้ ผู้ให้กู้เป็นเจ้าหนี้ตามเอกสารสัญญา และมีข้อตกลงในการชำระคืนอย่างชัดเจน

เป็น Crowdfunding เพื่อ "การกุศล" ตามที่เพียร์ พาวเวอร์ได้บอกไปข้างต้นแล้วว่า Lending Based Crowdfunding คือหน่วยหนึ่งในการระดมทุน แบบคราวด์ฟันดิง ซึ่งแยกย่อยออกมาได้อีกหลายแบบ โดยแบบที่เก่าแก่ที่สุด คือ รูปแบบของการบริจาค (Donation Based) หรือ การให้รางวัล (Reward Based) ซึ่งคนจะคุ้นเคยกว่า ดังนั้น เมื่อบอกว่าเป็นการระดมทุน คนจะคิดไปถึงเรื่องเชิงการกุศลทันที ซึ่งที่จริงแล้ว การที่ผู้ให้สินเชื่อ มอบโอกาสในการเข้าถึงเงินทุนให้กับผู้ขอสินเชื่อก็อาจถูกมองเป็นการกุศลได้ แต่ ในแบบของ Lending Based Crowdfunding มีความชัดเจนว่า จะต้องมีผลตอบแทน และการชำระคืนจากผู้ขอระดมทุนนั่นเอง

Lending Based Crowdfunding เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีทางการเงินที่ช่วยขยับช่องว่างทางการเงินให้แคบลงได้เป็นอย่างดี เพราะมีประโยชน์ทั้งต่อผู้ขอสินเชื่อ ที่ต้องการระดมทุน ในแหล่งเงินทุนที่คิดดอกเบี้ย ไม่สูงจนเกินไป และผู้ให้สินเชื่อเอง ที่ต้องการหาช่องทางการลงทุนแนวใหม่กับอัตราผลตอบแทนที่เหมาะสม หากใครกำลังมองหาแหล่งเงินทุนทางเลือกใหม่ ๆ หรือ ช่องทางการลงทุนในรูปแบบที่แตกต่างไป เพียร์ พาวเวอร์เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มที่พร้อมช่วยเหลือเรื่องนี้ได้เลย

______________________________________________________________________________________

คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร