ทำความรู้จักกับเทรนด์พลังงานสะอาด

by
March 18, 2022

ทำความรู้จักกับเทรนด์พลังงานสะอาด

ปัจจุบันทุกๆ ประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนกันมากขึ้น แม้ว่าในวันนี้จะยังไม่สามารถใช้พลังงานสะอาดได้ 100% แต่สิ่งที่จะได้เห็นแน่นอน คือ สัดส่วนของการผลิตไฟฟ้าที่มาจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะมีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นซึ่ง ณ ช่วงเวลานี้หลายๆประเทศ เริ่มมีการประกาศมาตรการต่างๆ ให้สอดคล้องกับเทรนด์พลังงานสะอาดและการลดภาวะโลกร้อนดังกล่าว วันนี้ เพียร์ พาวเวอร์จะพาทุกท่านไปรู้จักกับเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งใน และต่างประเทศครับ

1. "Carbon Border Adjustment Mechanism" หรือ “CBAM”

มาตรการ CBAM หรือ มาตรการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดน  เราอาจกล่าวได้ว่ามาตรการนี้เป็นมาตรการกีดกันการค้าอย่างหนึ่งก็ว่าได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อธุรกิจการผลิตและการส่งออกสำหรับประเทศที่มีการทำสินค้าส่งออกไปในโซนยุโรป รวมทั้ง อเมริกา,แคนาดา,ออสเตรเลีย,ญี่ปุ่น ด้วย ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการส่งออกสินค้าต่างๆ หลายผลิตภัณฑ์ ไปในโซนประเทศเหล่านี้ ถือเป็นรายได้หลักของประเทศอธิบายให้เห็นภาพคือ หากธุรกิจของเราผลิตสินค้า เราต้องแจกแจงให้ได้ว่า ธุรกิจของเรามีการปล่อยคาร์บอน หรือปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตสินค้าต่อหน่วยของสินค้าเท่าไร อยู่ในเกณฑ์บรรทัดฐานของ EU s หรือไม่ ถ้าสินค้าใดที่ปล่อยคาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจกเกินกว่าเกณฑ์ที่มาตรการกำหนด เวลาส่งของไปขายก็จะถูกเรียกเก็บภาษีที่เรียกว่า Carbon Tax ที่อัตราค่อนข้างสูง ผลกระทบต่อธุรกิจคือ ราคาสินค้าของธุรกิจที่ส่งไปยังปลายทางประเทศอื่นๆ จะราคาแพงขึ้นจากต้นทุนภาษีที่เพิ่มขึ้น ทำให้อาจแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดไม่ได้ หรือสินค้านั้นๆ อาจไม่ได้รับอนุญาติให้นำเข้าเลย ปัจจุบันนี้ มีหลายๆ ประเทศเริ่มตอบรับในมาตรการการดังกล่าวแล้ว ผู้ส่งออกไทยต้องเริ่มเตรียมตัวรับมือ และปรับตัวให้เข้ากับมาตรการใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อคาร์บอนเครดิต หรือการใช้พลังงานหมุนเวียนเข้ามาในการผลิต เพื่อชี้แจงได้ว่าเราได้ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขบวนการผลิตสินค้า หมายเหตุ คาร์บอนเครดิต คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดได้จากการดำเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ที่ผ่านการขี้นทะเบียนและผ่านการตรวจวัดแล้ว

2. Global ESG investment

ภาวะโลกร้อน (Global Warming) นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติ ทำให้ประเทศต่างๆได้รวมตัวกัน เข้าร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จนเกิดเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายสำคัญคือแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนโดย ควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิดอันตรายต่อระบบภูมิอากาศ ( United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC)และเนื่องจาก ข้อตกลงของ UNFCCC ดังกล่าว ก็ทำให้เกิดเป็นมาตรการการลงทุนที่เรียกว่า "Global ESG" หรือที่เรียกว่าการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และมีธรรมาภิบาลองค์กร

  • E- Environment สิ่งแวดล้อม
  • S-Social สังคม
  • G-Governance ธรรมาภิบาล

ESG นั้นมีแนวคิดหลักเพื่อส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืน และในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อโลกของเรา หรืออาจมองเป็นการจัดการความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากบริษัทที่มีแนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนและมีธรรมาภิบาลองค์กรจะสามารถจัดการหน้าที่/ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมได้ดีกว่า หรืออาจมีโอกาสเติบโตได้มากกว่าอย่างยั่งยืนในอนาคตในขณะเดียวกัน แนวคิดดังกล่าวก็กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งจากบริษัทจดทะเบียนและนักลงทุนทั่วโลก เราจะเห็นได้ว่า ผู้จัดการกองทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนต่างประเทศ ต่างให้ความสำคัญกับการลงทุนในบริษัทที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนทั้งของกิจการและสังคมโดยรวมมากขึ้น   เพราะการลงทุนในบริษัทที่ทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลตามหลัก ESG ย่อมสามารถเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีและสม่ำเสมอในระยะยาว

เทรนด์พลังงานสะอาด Green Energy

ตอนนี้เรามาดูปัจจัยอีกอันนึงก็คือ เทรนด์ที่มันเกิดขึ้นในประเทศเรา ในเมื่อมีทั่วโลกเรียกร้องในการที่จะเข้าถึงพลังงานหมุนเวียน แล้วสำหรับประเทศไทยเกิดเทรนด์อะไรขึ้นบ้าง

3.RE100 Thailand Club

RE100 เป็นการรวมตัวร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการด้านพลังงานและผู้ใช้พลังงานและผู้ผลิตสินค้าส่งออกเพื่อผลักดันให้มีการผลิตพลังงานหมุนเวียน และใช้พลังงานหมุนเวียน 100%  (Renewable Energy 100) ซึ่งภารกิจหลักของกลุ่ม RE100 คือ เร่งผลักดันเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานของประเทศไทยให้ไปสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ให้ได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลได้วางไว้ (Net Zero Carbon)โดย ในปัจจุบันนี้ ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับหน่วยงานทางภาครัฐอย่าง สำนักกำกับกิจการพลังงาน (กกพ) สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (มหาชน) (อบก) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ) และภาคเอกชน ร่วมกันก่อตั้ง "สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (อาร์อี 100) RE100 Thailand Club" และ RE-100 Digital Platform ขึ้นมา  เพื่อที่จะรวบรวม บริษัท ชั้นนำที่มีการดำเนินงานในภาคส่วนต่าง ๆ ตั้ งแต่ การสื่อสารโทรคมนาคมและไอที ไปจนถึงการผลิตปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ เพื่อร่วมกันยกระดับความสามารถของอุตสาหกรรม และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย  ผ่านการสนับสนุน และส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน  เพื่อให้ทางบริษัทสมาชิกสามารถเข้าถึงพลังงานหมุนเวียน และสามารถซื้อ-ขาย Carbon credit หรือว่าพลังงานหมุนเวียนภายใต้แพลตฟอร์มนี้ได้และล่าสุดวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จับมือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประกาศโครงการนำร่องการพัฒนาทางด้านพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy: RE) และ Carbon Credit เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและการรับรองการผลิตไฟฟ้า RE และ Carbon Credit โดยเชื่อมต่อกับ Platform ของ ส.อ.ท.  อย่างเป็นทางการครับ อ่านเพิ่มเติม

4.National initiative on P2P Electricity Sales (wheeling)

อีกสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วเช่นกัน  เราเรียกว่า "Peer to peer" หรือว่า “Wheeling” ก็คือเป็นการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนระหว่างเอกชนกับเอกชน (Peer- to – Peer, P2P) ผ่านสายส่ง โดยที่มี regulatorหรือ กกพ เป็นผู้อนุญาตและควบคุม ในการซื้อขายแบบ "Peer to peer"  ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลงราคากันได้โดยตรงเลยบน Digital Platform นี้และเมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา ภาครัฐมีการรับฟังความคิดเห็นต่อประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับกฎหมาย อนุญาติให้บุคคลที่สามสามารถซื้อขายไฟฟ้าผ่านโครงข่ายจำหน่ายไฟฟ้าของ การไฟฟ้าทั้งสามการไฟฟ้าได้ หรือที่เรียกว่า Third Party Access เป็นกฎหมายที่อนุญาตให้กับผู้ใช้ไฟสามารถที่จะซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิต (เอกชน) ผ่านสายส่งของการไฟฟ้า โดยต้องจ่ายค่าผ่านสาย ที่เรียกว่า Wheeling charge พูดง่าย ๆ คือถ้าใครคุ้นเคยกับคำว่า ระบบตลาดกลางการซื้อขายไฟฟ้า (Power Pool) เรากำลังจะก้าวไปอยู่จุดนั้นครับ

เทรนด์พลังงานสะอาด Green Energy

ซึ่งเพียร์ พาวเวอร์เอง ก็มีธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเชิงบวกจากมาตรการดังกล่าว อย่าง Project Green Energy  ซึ่งมาตรการดังกล่าวนั้น เอื้อต่อการเติบโต และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จากก๊าซชีวภาพ และพลังงานไฟฟ้า

Project Green Energy  ธุรกิจผลิตไฟฟ้า และก๊าซชีวภาพที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่กำลังขึ้นระดมทุนบนแพลตฟอร์มผ่าน หุ้นคราวด์ฟันดิงและ ยังมีธุรกิจจากอีกหลากหลายอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ พร้อมทั้งมีศักยภาพในการเติบโต ที่จะมาระดมทุนบนแพลตฟอร์ม ของเพียร์ พาวเวอร์ ซึ่งสำหรับธุรกิจที่ระดมทุนอยู่บนแพลตฟอร์มเพียร์ พาวเวอร์นั้น เราได้รวบรวมข้อมูลดังกล่าว ไว้ในหนังสือชี้ชวน (Prospectus) ที่ประกอบด้วย ภาพรวมธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ – บริการ รวมถึงข้อมูลทางการเงิน เพื่อให้ง่ายแก่นักลงทุนบนแพลตฟอร์มในการศึกษา และตัดสินใจลงทุนนั่นเอง  ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเพื่อเปิดบัญชีนักลงทุนกับแพลตฟอร์มเพียร์ พาวเวอร์ได้แล้ววันนี้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปิดบัญชี

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร