Success Strategy

5 เทคนิคบริหารสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ

by
January 22, 2018

5 เทคนิคบริหารสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ นอกเหนือจากการขายสินค้าที่ดี มีคุณภาพ และทำการตลาดนำเสนอโปรโมชั่นโดนใจผู้บริโภคแล้วนั้น รู้หรือไม่ว่า การบริหารสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณตอบสนองความต้องการของลูกค้าและทำกำไรได้มากขึ้น

ทำไมการบริหารสินค้าคงคลังจึงสำคัญ?

1. นำข้อมูลไปวิเคราะห์ตลาดและวางแผนกลยุทธ์

เมื่อเรารู้ว่าสินค้าชนิดไหนขายดีในช่วงเวลาใด โดนใจคนกลุ่มไหน ทำให้เราสามารถนำไปวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า เพื่อวางแผนกลยุทธ์ให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า นำเสนอสินค้า และจัดโปรโมชันให้สอดคล้องกับช่วงเวลา และฤดูกาลด้วย

2. เห็นภาพรวมคลังสินค้าอย่างถูกต้องแม่นยำ

การจัดการคลังสินค้าอย่างเป็นระบบว่ามีสินค้าทั้งหมดเท่าไร มีการเข้าออกอย่างไร เมื่อไร ทำให้เราสามารถตรวจสอบ ควบคุม และป้องกันสินค้าสูญหาย เสียหาย หรือชำรุด มากไปกว่านั้นทำให้เรารู้ว่าสินค้าแต่ละชนิดมีความต้องการมากน้อยเพียงใด หมดเร็วแค่ไหน ควรเพิ่มสต็อกสินค้าหรือไม่ เพราะหากเรามีสินค้าไม่พอขายจะทำให้เราต้องเสียโอกาสทางการค้า และถ้ามองกลับกันเรามีสินค้าคงเหลือในสต็อกมากเกินไปโดยที่ไม่สามารถขายได้ก็จะทำให้เราขาดทุนได้เช่นกัน

3. ค่าใช้จ่ายลดลงทำให้กำไรเพิ่มขึ้น ธุรกิจมีสภาพคล่องมากขึ้น

หากเราบริหารคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้สามารถวางแผนงบประมาณได้ว่า ควรจัดซื้อสินค้ามากน้อยเพียงใด มีอำนาจในการต่อรองราคามากขึ้น รวมถึงสามารถคำนวณต้นทุน เพื่อนำไปตั้งราคาขายได้อย่างเหมาะสมคุ้มค่ากับกำไร มากไปกว่านั้นยังสามารถจัดการได้ว่าสินค้าชิ้นไหนควรระบายออกก่อนหลัง เพื่อให้เกิดปัญหาสินค้าเหลือและหมดอายุโดยที่ยังไม่ได้ขายออกไป

บริหาร สต๊อกสินค้า - สินค้าคงคลัง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องสำรองสินค้าเท่าไร?

ปกติแล้วการสำรองสินค้าจะวิเคราะห์จากข้อมูลยอดขายของเดือนก่อนหน้า หรือ ปีที่ผ่านมาว่ามีแต่ละช่วงเวลามีกระแสตอบรับเป็นอย่างไร สินค้าประเภทไหนขายดี เป็นต้น แต่ถ้าหากคุณเพิ่งเริ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ แนะนำให้ทดลองตลาดในช่วงเดือนแรก โดยที่ยังไม่ต้องสต็อกสินค้าจำนวนมาก แต่ควรหมั่นสังเกตกระแสตอบรับ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อไป

การคำนวณ “ราคา” สินค้าที่เหมาะสมกับคลังสินค้าของเรา

ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่านี่ไม่ใช่การคำนวณว่าเราต้องซื้อสินค้ามาในราคาเท่าใด แต่เป็นการหาจุดสั่งซื้อที่ “เหมาะสม” เพื่อไม่ให้ สต๊อกสินค้ามีเหลือมากหรือน้อยเกินความจำเป็น เพราะหากมีสินค้าเหลือมากเกินไปจะทำให้ต้นทุนในการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น แต่หากน้อยเกินไปก็จะทำให้เสียโอกาสในการขายได้สูตร EOQ (Economic Order Quantity)EOQ = √(2DK) /HD คือ ปริมาณความต้องการสินค้า ต่อปีK คือ ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้งH คือ ต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าต่อหน่วย ต่อปีตัวอย่าง: บริษัท Healthy Diet มีปริมาณความต้องการสินค้าต่อปี 1,000 หน่วย โดยค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ละครั้งคือ 100 บาท และมีต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า 5 บาทต่อหน่วยต่อปีEOQ = √(2 x 1000 x 10) / 0.5 = 200สรุป: จำนวนการสั่งซื้อที่ประหยัดสำหรับบริษัท Healthy Diet ต่อครั้งคือ 200 ชิ้น

เมื่อไร คือ เวลาที่เหมาะสมสำหรับการสั่งสินค้าเพิ่ม

เมื่อเรารู้แล้วว่าแต่ละครั้งควรสั่งซื้อสินค้าจำนวนเท่าไรเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด แต่การสั่งสินค้าใหม่ควรเป็นช่วงเวลาไหนดีจึงจะเหมาะสม? เพราะเราไม่อยากให้สินค้ามาก่อนหรือหลังเวลาอันควร ดังนั้นการคำนวณ “จุดสั่งซื้อซ้ำ (Reorder Point)” และ “สต๊อกสินค้าสำรอง (Safety Stock)” จึงเป็นสิ่งสำคัญSafety Stock = (ความต้องการสูงสุดต่อวัน x ระยะเวลาในการจัดหามากสุด:วัน) - (ความต้องการต่อวัน x ระยะเวลาในการจัดหา:วัน)Reorder Point = (ความต้องการต่อวัน x ระยะเวลาในการจัดหา:วัน) + สต็อกสินค้าสำรอง*ความต้องการต่อวันสามารถคำนวณได้โดยใช้สูตร ความต้องการต่อวัน/จำนวนวันที่ทำงานตัวอย่าง: บริษัท Healthy Diet มีความต้องการ 25 ชิ้นต่อวัน (ความต้องการสูงสุด 30 ชิ้นต่อวัน) โดยใช้ระยะเวลาในการจัดหา 5 วัน (ระยะเวลาในการจัดหาสูงสุด 7 วัน) ดังนั้นบริษัทจะต้องมีสินค้าเพียงพอกับความต้องการก่อนที่สินค้าล็อตถัดไปจะมาถึงSafety Stock = (30 x 7) - (25 x 5) = 85Reorder Point = (25 x 5) + 85 = 210สรุป: บริษัท Healthy Diet จะต้องสั่งซื้อสินค้าใหม่เมื่อสต็อกอยู่ที่ 210 หน่วย โดยต้องรอระยะเวลาในการหาสินค้าใหม่ 7 วัน จนกว่าสินค้าล็อตใหม่ 125 หน่วยจะมาถึง โดยที่ยังคงมีสต็อกสินค้าสำรองอีก 85 หน่วย

เทคนิคการบริหารสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ

1. แยกประเภทด้วยรหัสสินค้า และจัดการ SKU

ติดป้ายหรือ Barcode เพื่อแยกประเภทสินค้าด้วยรหัสสินค้าให้ตรงกับรายการสินค้าที่ขายเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณ รวมถึงกำหนด Stock Keeping Unit (SKU) ให้สินค้าแต่ละประเภทมีความแตกต่างชัดเจน เพื่อให้การจัดส่งสินค้าสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำมากยิ่งขึ้น

2. เตรียมพร้อมสำหรับอีเว้นท์และฤดูกาลต่างๆ

วางแผนการขายล่วงหน้าสำหรับอีเว้นท์หรือเทศกาลต่างๆ ที่สอดคล้องกับสินค้าและพฤติกรรมของลูกค้าของคุณ เช่น หากคุณขายเครื่องเขียน เมื่อใกล้ช่วงวันเปิดเทอม แน่นอนว่าความต้องการซื้อสมุด ปากกา ดินสอต้องเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ดังนั้นจึงต้องเตรียมสต็อกสินค้าให้พร้อม

3. รู้ระยะเวลาจัดหาสินค้า

สินค้าแต่ละชนิดที่นำมาขายจะต้องรู้ระยะเวลาในการจัดหาว่ามากน้อยเพียงใดกว่าสินค้าจะเดินทางมาถึง เพื่อปรับเพิ่ม/ลดจำนวน สต๊อกสินค้าในระบบหลังบ้าน หรือระยะเวลาการจัดส่งให้สอดคล้องกัน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่

4. ตรวจสอบคลังสินค้าประจำ

ควรตรวจสอบคลังสินค้าประจำ โดยสามารถกำหนดได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพื่ออัปเดตจำนวนสินค้าที่ขายได้ และนำมาคำนวณรายได้ กำไร และวางแผนการสั่งซื้อสินค้าในล็อตใหม่ต่อไป

5. จัดระเบียบให้กับสถานที่เก็บสินค้า

แบ่งสถานที่เก็บสินค้าเป็นสัดส่วนชัดเจนสำหรับสินค้าแต่ละประเภท ทำรายการสินค้า โดยระบุตำแหน่ง เลขที่ชั้นวางสินค้า พร้อมทำป้ายกำกับชั้นวางสินค้าทุกชั้น และมีอัปเดตจำนวณสินค้าที่นำเข้า-ออกตลอดเวลา หากสินค้าชิ้นไหนที่มียอดการสั่งซื้อเยอะ คุณอาจจะปรับเปลี่ยนจุดวางสินค้าให้สามารถเข้าถึงง่าย เพื่อความสะดวกรวดเร็ว

บริหาร สต๊อกสินค้า - สินค้าคงคลัง

เพียร์ พาวเวอร์ คือผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งระบบคราวด์ฟันดิงคือตัวกลางในการระดมทุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยวิธีการออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ในขณะเดียวกันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนที่สามารถเข้ามาลงทุนในธุรกิจที่เสนอขายหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงในแพลตฟอร์มได้ สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ ที่นี่

_______________________________________________________________________

คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุน สำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร