Peer Story

เส้นทางระดมทุนคราวด์ฟันดิงกับ Local Alike

by
PeerPower Team
October 24, 2022

Local Alike (โลเคิล อไลค์) เป็นสตาร์ทอัพการท่องเที่ยววิถีชุมชนที่ระดมทุนสำเร็จถึง 13 ล้านบาท เป้าหมายของ Local Alike คือการเป็น บริษัทเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise พัฒนาคนและสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน ปัจจุบันบริษัทมีชุมชนพันธมิตรอยู่กว่า 200  ชุมชน สร้างงานในชุมชนแล้วกว่า 2,000 ตำแหน่ง นำประโยชน์สู่ชุมชนท้องถิ่นกว่า 54 ล้านบาท และยังพานักท่องเที่ยวอีกกว่า 32,000 คนทั่วโลกมาสัมผัสเสน่ห์แห่งความเรียบง่ายของชุมชนท้องถิ่นในไทย

เส้นทางระดมทุนคราวด์ฟันดิงกับ Local Alike

“คุณไผ” สมศักดิ์ บุญคำ กับเบื้องหลังของ Local Alike

เส้นทางระดมทุนคราวด์ฟันดิงกับ Local Alike
คุณไผ สมศักดิ์ บุญคำ

ก่อนที่จะทำ Local Alike คุณไผเป็นวิศวกรปิโตรเคมีทำงานอยู่ที่ประเทศเยอรมนี จุดเปลี่ยนที่ทำให้คุณไผสนใจเกี่ยวกับพัฒนาชุมชน คือความยากจนของคนในชุมชนที่เขาเจอช่วงลาเที่ยวพักร้อน ด้วยความที่ตัวเขาเองก็มีพื้นเพมาจากชุมชนต่างจังหวัดเหมือนกัน ทำให้คุณไผเกิดแรงบันดาลใจอยากพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนด้วยการท่องเที่ยว

แม้การท่องเที่ยวจะเป็นรายได้หลักของประเทศไทย แต่เงินกลับตกสู่ชุมชนท้องถิ่นน้อย ทั้ง ๆ ที่ชุมชนมีศักยภาพและเอกลักษณ์มากพอ เพียงแต่ขาดเครื่องมือที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้คืนสู่ท้องถิ่น หรือในหลายกรณีเมื่อการท่องเที่ยวได้รับความนิยมมากกลับทำลายวิถีชีวิตท้องถิ่นไป เมื่อเห็นช่องทาง ในปี 2555 โมเดลธุรกิจของ Local Alike จึงเกิดขึ้นโดยการ 

‘พัฒนาคน‘ ทำเวิร์คช็อปร่วมกับชุมชนพัฒนาจุดขายซึ่งเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ

‘พัฒนาธุรกิจและบริการ’ สร้างเส้นทางท่องเที่ยว โฮมสเตย์ชุมชน ฯลฯ สร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยตรง

‘พัฒนาเทคโนโลยี’ สร้างแพลตฟอร์มเชื่อมต่อกับนักท่องเที่ยวผ่านเว็บไซต์และสื่ออื่น ๆ

‘พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม’ นำรายได้รวมกับกำไรของ Local Alike มาแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ หรือระบบสาธารณูปโภคของชุมชน

เส้นทางระดมทุนคราวด์ฟันดิงกับ Local Alike
รูปภาพจาก Local Alike

จุดเด่นของ Local Alike ไม่ใช่เพียงแค่เสน่ห์ในความเรียบง่ายของวิถีชุมชน แต่คือการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน บริษัทมีลูกค้าจากตลาดองค์กรต่างประเทศเป็นหลัก โดยร่วมมือกับชุมชนในเกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย

กว่า 10 ปีที่ก่อตั้ง Local Alike ประสบความสำเร็จอย่างน่าภูมิใจ หลายชุมชนมีรายได้กลับมาพัฒนาท้องถิ่น แต่สิ่งที่พิสูจน์ความแข็งแกร่งของธุรกิจคือช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา

PeerPower x Local Alike 

เส้นทางระดมทุนคราวด์ฟันดิงกับ Local Alike
รูปภาพจาก เว็บไซต์ Local Alike
ถ้าเกิดว่าเป็นธนาคารธรรมดา คิดว่าโปรเจคต่าง ๆ ที่ทำช่วงนั้นเราน่าจะไม่สามารถทำได้ทัน ถ้าไม่มีเพียร์ พาวเวอร์ เข้ามาซัพพอร์ตในเรื่องนี้

                                                                                  อรธีรา รัตนทายะ, CFO และ CSO บริษัท Local Alike 

ไม่ใช่ว่าบริษัทไม่เคยเจอปัญหาการหาเงินทุนมาก่อน โมเดลธุรกิจที่ต้องการเป็นบริษัทเพื่อสังคมและพัฒนาชุมชนค่อนข้างเป็นสิ่งใหม่ทำให้นักลงทุนหลายรายปฎิเสธ บริษัทจึงหาเงินทุนจากการประกวดแข่งขันในเวทีต่าง ๆ แต่โควิด-19 ก็เป็นมรสุมใหญ่ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลกหยุดชะงัก 

Local Alike ออกหุ้นกู้ Basic Bond สองครั้งกับ PeerPower เพื่อนำเงินทุนมาหมุนเวียนกิจการ มูลค่ารวมอยู่ที่ 13 ล้านบาท โดยเฉพาะการระดมทุนครั้งล่าสุดมีผู้ลงทุนเต็มภายในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งสิ่งนี้พิสูจน์ศักยภาพของธุรกิจได้เป็นอย่างดี 

เส้นทางระดมทุนของ Local Alike

  • ระดมทุนสำเร็จกว่า 13 ล้านบาท
  • ระดมทุนผ่าน Basic Bond

จากวันนั้นถึงวันนี้ 

เส้นทางระดมทุนคราวด์ฟันดิงกับ Local Alike
รูปภาพจาก Local Alike

ช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา Local Alike จึงปรับกลยุทธ์ “ยกชุมชนส่งตรงถึงบ้าน” พัฒนาธุรกิจอาหาร Local Aroi เสิร์ฟอาหารอร่อยจากชุมชนต่างทั่วประเทศถึงหน้าบ้าน และ ธุรกิจ Local Alot ขายสินค้าหัตถกรรมชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์ 

แม้ช่วงที่ผ่านธุรกิจจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก แต่ Local Alike ก็ไม่เคยหยุดพัฒนา บริษัทยังมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยที่ยังไม่ลืมหัวใจหลักซึ่งคือการ “พัฒนาชุมชนให้อยู่ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน” นอกจากนั้น Local Alike ยังร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ให้ความรู้ชุมชนเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนด้วยการท่องเที่ยว 

นอกจากนั้นเพื่อเตรียมพร้อมการท่องเที่ยวที่กำลังกลับมาหลังโควิด-19 บริษัทยังเร่งพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน ควบคู่กับพัฒนาธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัทให้มีรายได้สมดุล

เคล็ดลับความสำเร็จของ Local Alike

เคล็ดลับ #1 เข้าใจใน “WHY” ของธุรกิจ

โควิด-19 ที่เกิดขึ้น เป็นอุปสรรคที่ทำให้บริษัทกุมขมับ แต่เมื่อพิจารณาธุรกิจอีกครั้งจึงพบว่า Local Alike เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อ “พัฒนาชุมชน” ผ่านวัฒนธรรมและของดีที่ชุมชนมี แม้นักท่องเที่ยวจะเดินทาง “เข้ามา” หาชุมชนไม่ได้ แต่ชุมชนสามารถ “ส่งออก” ไปหานักท่องเที่ยวได้ บริษัทจึงพัฒนาธุรกิจ Local Aroi และ Local Alot ส่งวัฒนธรรมชุมชนผ่านช่องทางการขายของออนไลน์และสร้างรายได้อีกทางสู่ชาวบ้าน

เคล็ดลับ #2 อ่านเกมส์ให้ออก ลงมือทำให้เร็ว

ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส และเมื่อเห็นโอกาสก็ต้องลงมือทำ โควิด-19 ไม่ใช่แค่กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้บริษัทเริ่มธุรกิจออนไลน์ แต่ยังทำให้บริษัทได้ค้นพบศักยภาพและโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ของตัวเอง จากที่แค่ขายอาหาร Local Aroi ลองผิดลองถูกด้วยโมเดล Dining Experience เสิร์ฟอาหารท้องถิ่น หรือแม้กระทั่งคลาสเรียนทำอาหาร แม้จะไม่สมบูรณ์ในครั้งแรก แต่อย่างน้อยธุรกิจต้องลงมือทำ และพัฒนาเรื่อย ๆ 

เคล็ดลับ #3 ทีมงานที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมาก 

ธุรกิจจะอยู่ไม่ได้ หากทีมงานถอดใจยอมแพ้ตั้งแต่แรก เมื่อทีมเรียนรู้ที่จะปรับตัว มี mindset ที่ไม่ยอมแพ้ บริษัทจึงผ่านวิกฤตมาได้ 

PeerPower ยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของ Local Alike และเราพร้อมสนับสนุนธุรกิจให้ก้าวไปได้ไกลขึ้นด้วยการช่วยสนับสนุนธุรกิจที่มีศักยภาพให้เข้าถึงแหล่งทุนจากนักลงทุนนับพันบนแพลตฟอร์มของ​ PeerPower

Author
PeerPower Team

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร