Perspectives

เงินเฟ้อหนัก ตลาดผันผวน เจ้าของกิจการและนักลงทุนควรปรับตัวอย่างไร

by
June 15, 2022

ปรับตัวอย่างไรเมื่อเงินเฟ้อหนักและตลาดผันผวนบทเรียนจาก Damodaran กูรูไฟแนนซ์แห่ง NYU

เงินเฟ้อ ตลาดผันผวน ธุรกิจและนักลงทุนควรปรับตัวอย่างไร คำแนะนำจาก Aswath Damodaran

เมื่อปี 2007 (ปีที่ไอโฟนออกรุ่นแรกพอดี…) ผมไปเยือน NYU หรือมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สิ่งที่ซื้อติดมือเป็นของฝากให้ตัวเองคือหนังสือเรื่อง Investment Fables - Exposing the Myths of ‘Can’t Miss’ Investment Strategies ของ Prof. Aswath Damodaran ศาสตราจารย์ด้านการการเงินคนดังแห่ง NYU หนังสือเล่าถึง “ความเชื่อ” ต่าง ๆ ในการลงทุน และวิเคราะห์ว่ากลยุทธ์ที่บอกกันมาปากต่อปากนั้นเป็นจริงหรือไม่ หนังสือเล่มนี้เรียกได้ว่าสร้างมุมมองใหม่ในการลงทุน และช่วยให้ผมรู้จักตั้งคำถามกับ “สตอรี” ต่าง ๆ ที่ตลาดและเหล่าพีอาร์พยายามบอกกับนักลงทุนจนทุกวันนี้ผมก็ยังเป็นแฟนคลับ Prof. Damodaran เพราะประทับใจความรู้แน่นปึ้กและมุมมองเฉียบคมที่เอามาปรับใช้ได้จริงของเขา ซึ่งนักลงทุนทั่วไปก็ติดตามได้ในสื่อต่าง ๆ โดยไม่ต้องไปลงเรียนถึง NYU และด้วยเหตุนี้ ในเวลาที่ตลาดผันผวนน่าหวั่นวิตกแบบนี้ ผมจึงต้องกลับไปหาความรู้จาก Prof. Damodaran อีกครั้งผ่านทางพอดแคสต์ล่าสุดที่อาจารย์ให้มุมมองเกี่ยวกับตลาดในปัจจุบัน เมื่อฟังจบแล้วก็ขอแชร์บทเรียน 3 ข้อกับชาวเพียร์ พาวเวอร์ ดังนี้

1. รับความจริงเถอะว่าเงินเฟ้อเปลี่ยนไปแล้ว

ถ้าคุณเป็นนักลงทุนที่เริ่มเข้าวงการเมื่อ 20 ปีก่อนเหมือนผม คุณก็คงเคยชินกับเงินเฟ้อระดับต่ำและค่อนข้างคงที่เหมือนกัน เพราะตลาดเป็นอย่างนั้นมาเกือบตลอด เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมบอกเราว่าคนเรามักทำนายอนาคตโดยอ้างอิงจากสิ่งที่เคยประสบมา ดังนั้นการต้องปรับตัวรับความจริงกับอัตราเงินเฟ้อแบบ new normal ที่จะสูงอย่างนี้ไปอีกนานคงเป็นเรื่องยาก แต่ก็จำเป็นต้องทำจริงอยู่ที่เราพอจะมีข้ออ้างได้ว่าเงินเฟ้อ 8-9% ที่เห็นอยู่ทุกวันนี้เป็นผลจากห่วงโซ่อุปทานที่ถูกกระทบด้วยวิกฤตโควิด-19 และสงครามในยูเครน แต่ยิ่งเวลาผ่านไปหลายฝ่ายก็ยิ่งออกมายอมรับมากขึ้นว่าเราคงไม่มีโอกาสได้เห็นเงินเฟ้อ 1% หรือ 1.5% แบบเดิมที่เคยเห็นในช่วง 10 ปีก่อนอีกแล้ว ตลาดที่ผันผวนอยู่ทุกวันนี้ก็เกิดจากคำถามที่ว่า แล้วอัตราเงินเฟ้อจะไปอยู่ที่เท่าไหร่ ระหว่าง 1.5% จนถึง 9% อย่างปัจจุบัน

2. คำแนะนำสำหรับธุรกิจ : อย่าเสี่ยงกับการเลือกของลูกค้า

อาจจะฟังดูโหดไปสักหน่อย แต่ผมขออธิบายแบบนี้ ถ้าธุรกิจของคุณขายสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคสามารถเลือกได้ว่ายังไม่ต้องการใช้ตอนนี้ ธุรกิจของคุณถือว่าเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้อมากกว่าคนอื่นเลยล่ะครับ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ระหว่างร้านสะดวกซื้อที่ขายของใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน กับร้านขายสินค้าเฉพาะทางซึ่งคนทั่วไปอาจไม่ได้ “จำเป็น” ต้องใช้ประจำ ในสถานการณ์เงินเฟ้อแบบนี้ร้านแรกมีแนวโน้มจะอยู่รอดได้มากกว่าครับทางออกก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้สินค้าหรือบริการของคุณไม่ต้องเสี่ยงกับการ “เลือก” ของลูกค้า ตรงนี้ Prof. Damodaran ยกตัวอย่างไมโครซอฟต์ให้ฟังว่า เมื่อ 10-15 ปีก่อนนั้นรายได้ของไมโครซอฟต์มาจากการที่ลูกค้าอัพเกรดวินโดว์ส ทุกครั้งที่อัพเกรดเป็นเวอร์ชันใหม่ก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มทุกวันนี้ไมโครซอฟต์ใช้โมเดลธุรกิจที่ต่างออกไป จากการขายซอฟต์แวร์เพื่ออัพเกรด เปลี่ยนเป็นการให้สมัครสมาชิกแพกเกจ Microsoft 365 โดยจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปีแทน ธรรมชาติของธุรกิจประเภทสมัครสมาชิกนั้นเสี่ยงกับการเลือกของลูกค้าน้อยกว่า เพราะน่าจะมีน้อยคนที่ตัดสินใจยกเลิกแพกเกจซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่ ในขณะที่การผัดผ่อนไม่ยอมอัพเกรดซอฟต์แวร์นั้นคุณเองก็อาจจะเคยทำเหมือนกันใช่ไหมล่ะครับ แล้วธุรกิจของคุณล่ะครับ มีวิธีอย่างไรบ้างในการตัดความเสี่ยงจากการเลือกไม่ซื้อของลูกค้า

3. คำแนะนำสำหรับนักลงทุน​ : กระจายความเสี่ยง กระจายความเสี่ยง กระจายความเสี่ยง

กระจายความเสี่ยงในการลงทุน รับมือเงินเฟ้อตลาดผันผวน

บ่อยครั้งที่เราปล่อยให้เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือเหตุการณ์ที่โดดเด่นเป็นพิเศษ มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของเรามากเกินสัดส่วนที่พอเหมาะ ดูอย่างสถานการณ์โควิดที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตส่วนตัวของเราทุกคน จนอาจทำให้เรื่องราวของบริษัทอย่าง Zoom หรือ Peloton (ผู้จำหน่ายเครื่องออกกำลังกายพร้อมบริการฟิตเนสสตรีมมิง) โดดเด่นขึ้นมาเกินจริง ซึ่งในท้ายที่สุดก็พิสูจน์แล้วว่ามูลค่าตลาดที่เกิดขึ้นช่วงโควิดเป็นเรื่องชั่วคราวเท่านั้นดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนควรจะทำก็คือกระจายความเสี่ยง โดยเฉพาะในช่วงที่สภาพตลาดผันผวนเช่นนี้ นักลงทุนควรต้องกระจายความเสี่ยง ด้วยการลงทุนใน asset class หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่หลากหลาย กระจายความเสี่ยง ด้วยการลงทุนในบริษัทหลายประเภทกระจายความเสี่ยง ด้วยการลงทุนในหลายพื้นที่ ทั้งในและนอกประเทศเพียร์ พาวเวอร์ช่วยนักลงทุนกระจายความเสี่ยงด้วยโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด (private asset) ผ่านหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง

ขอบคุณภาพประกอบจาก Damodaran Online

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร