Fintech กับธนาคารนวัตกรรมเกื้อหนุน หรือคู่ทำลายล้าง

by
February 27, 2019
  • ในปี 2008 วิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจทำให้ธนาคารชะลอการอนุมัติการให้สินเชื่อ จึงเกิดเป็นช่องว่างที่ทำให้ธุรกิจประเภท Fintech ถือกำเนิดขึ้นมา
  • Fintech หรือ ฟินเทค เข้ามาเติมเต็มช่องว่างทางการเงินด้วยเทคโนโลยี ความเข้าถึงง่ายกว่า ตอบโจทย์ได้ตรงจุดประสงค์กว่าและมีความยืดหยุ่นกว่าด้วยโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว ทำให้ Fintech เติบโตอย่างรวดเร็ว
  • การเข้ามาของ Fintech ส่งผลต่อบทบาทของธนาคารที่ถูกลดอำนาจลง ทำให้ธนาคารกำลังกลายเป็นเพียงสถานที่เก็บและโยกย้ายเงินเท่านั้น
  • ธนาคารไม่ได้มองว่า Fintech เป็นคู่แข่ง เพราะมีศักยภาพและต้นทุนทั้งเม็ดเงินและฐานลูกค้าที่เหนือกว่า และ Fintech เอง จำเป็นต้องพึ่งพาธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นด้านต้นทุนหรือกฎหมาย
  • ถ้า Fintech ไม่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพวกเขาต้องพัฒนาเทคโนโลยีให้รองรับความต้องการทางการเงินของลูกค้าให้มากขึ้น
  • ธนาคารหลายแห่งมอง Fintech เป็นโอกาสที่ดีในการลงทุน โดยเฉพาะในแถบอาเซียน ทั้งสิงคโปร์ มาเลย์เซีย อินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย
  • ในไทยเห็นได้ชัดที่สุดในกรณี Kbank X Grab สร้างเป็นเครือข่าย Social Banking ขึ้นมาในปี 2019 นี้

Fintech กับธนาคารนวัตกรรมเกื้อหนุน หรือคู่ทำลายล้าง

หากมองย้อนกลับไป เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว “ธนาคาร” คือ สถาบันการเงินที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจและคนในสังคมอย่างเหนียวแน่น ทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นในธนาคารได้รับการรองรับตามกฎหมาย และเป็นสถานที่เพียงแห่งเดียวที่คนไว้ใจให้เก็บเงินของเขาไว้ โดยไม่กังวลว่าจะไม่ได้คืน

แต่เมื่อปี 2008 มาถึง เศรษฐกิจทั่วโลกทรุดตัวลง ธนาคารต้องชะลอการปล่อยสินเชื่อ ตลอดจน ต้องเพิ่มหลักเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติผู้กู้ให้เข้มข้นขึ้น การได้เงินจากธนาคารจึงไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป ในขณะที่ความต้องการใช้เงินเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ลูกค้าของธนาคารต้องมองหาแหล่งเงินทุนจากที่อื่น เป็นช่วงเวลาที่พอดีกับนวัตกรรมสมาร์ทโฟนถูกพัฒนา ถึงจุดที่เข้าถึงผู้ใช้ได้ ทุกที่ ทุกเวลา  

Fintech (Financial Technology) ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงเวลานี้ และเติมเต็มช่องว่างความต้องการของลูกค้าที่ธนาคารให้ไม่ได้ นั่นคือ ความง่ายดาย และรวดเร็วเราพอจะได้ยินกันอยู่บ้างว่าเทคโนโลยี เป็น Disruptor ที่เข้ามาแทรกแซงระบบอุตสาหกรรมดั้งเดิมโทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์สาธารณะหมดความหมาย เมื่อทุกคนมีสมาร์ทโฟน ทำให้เข้าถึงข้อมูลการลงทุนได้ด้วยตัวเอง ระบบสื่อสารมวลชนจึงถูกลดบทบาทลง

ปรากฎการณ์ฟินเทค ที่ขยายตัวทำหน้าที่ต่างๆ แทนธนาคารได้แทบจะทั้งระบบ(ที่กฎหมายอนุญาต) จะเปลี่ยนให้ธนาคาร กลายเป็นเพียงสถานที่เก็บเงินที่ปลอดภัยก่อนการโยกย้ายใช้จ่ายเท่านั้น หรือไม่ที่จริงแล้ว หากมองลึกลงไป ในระบบการเงินการธนาคารทั้งของในประเทศไทย และทั่วโลก ไม่มีทางที่การคลังจะยกอำนาจในการควบคุมการเงินให้อยู่ในมือเอกชนแบบเต็มร้อย เราจึงมีธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ : BOT ) เป็นผู้กำกับดูแลกิจการของธนาคารพาณิชย์ โดยรับนโยบายมาจากกระทรวงการคลังอีกต่อหนึ่ ธนาคารพาณิชย์จึงมีสถานะที่เหนือกว่า ฟินเทค ทั้งยังมั่งคั่งกว่าในด้านทุนทรัพย์ และฐานลูกค้าเดิม

ในส่วนของ Fintech เอง ก็ยังมีความจำเป็น ที่จะต้องพึ่งพาธนาคาร เพราะไม่อาจทำธุรกรรมให้ถูกกฎหมายได้ด้วยตัวเอง ไม่มีทุนหนาเท่าธนาคาร ไม่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก และตัว Fintech เอง มักมีลักษณะเป็นการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง เช่น ปล่อยสินเชื่อ ซื้อขายจ่ายเงิน ไม่สามารถดำเนินการได้ครบวงจร เหมือนที่ธนาคารทำ และหลายแห่งยังอาศัยเงินทุนจากธนาคาร ดังนั้นสำหรับธนาคารแล้ว Fintech นั้น ไม่ใช่คู่แข่งที่น่ากลัว

Fintech กับธนาคาร ความต่างที่ลงตัว

สำหรับ Fintech นั้น การอยู่โดยไม่พึ่งพาธนาคารเป็นไปได้ยาก แต่ในระยะยาวสามารถเป็นไปได้ หากมีการพัฒนาระบบอัตโนมัติ (Automation) ให้มีความเสถียร และตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ตลอดชีวิต

ยกกรณศึกษา ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ระบบอัตโนมัติถูกหยิบมาใช้ในธุรกิจ Fintech มากขึ้น เพื่อช่วยมนุษย์ในการวางแผนและตัดสินใจในเรื่องเกี่ยวกับการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการออม การวางแผนแต่งงาน เลือกโรงเรียนลูก วางแผนเกษียณ เป็นต้น

ลักษณะของระบบอัตโนมัตินี้มีทั้งการทำงานแบบสำเร็จในตัวเองเช่น Flximize ที่ช่วยคำนวณเงินกู้ หรือ การทำงานร่วมกับมนุษย์เพื่อวิเคราะห์การตัดสินใจอีกขั้น แบบระบบเครดิตสกอร์ของ เพียร์ พาวเวอร์ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างแต่ในขณะเดียวกัน หากเรามองว่าสถาบันการเงินดั้งเดิมแบบธนาคาร และธุรกิจการเงินยุคดิจิตอล แบบ Fintech ไม่มีความจำเป็นต้องแยกกัน สามารถสอดประสานเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้าได้ ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ได้เกิดขึ้นแล้วทั่วโลก

โดยในเอเชีย มีธนาคารหลายแห่งที่จับมือกับ ธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) เพื่อขยายช่องทางการให้บริการเพิ่มขึ้น ทั้งในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินดดนีเชีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม รวมทั้งประเทศไทยเอง เมื่อปลายปี 2018 ธนาคารกสิกรไทย จับมือกับ Grab เกิดเป็น สตาร์ทอัพน้องใหม่ทุนหนาเพื่อให้บริการ และดำเนินการร่วมกันเป็นระบบ Grabpay by Kbank ขึ้น ในอนาคต เราจะเห็นการใช้จ่าย ผ่านแอปพลิเคชั่น Grab โดยธนาคารกสิกรไทยเอื้อระบบให้ หรือ เป็นการใช้บริการ Grab ผ่านหน้าแอปพลิเคชั่นของธนาคารกสิกรไทย ก็เป็นได้เช่นกัน ทั้งยังกำลังพัฒนาระบบการให้สินเชื่อออนไลน์ ผ่านเครือข่ายโซเชียลอีกด้วย

ความร่วมมือนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายได้ผลประโยชน์พอกัน โดย Grab ได้นายทุนเจ้าใหญ่ ส่วนธนาคารกสิกรไทย ได้ลูกค้า และเทคโนโลยีที่ดีโดยไม่ต้องลงทุนพัฒนาระบบขึ้นมาเองการยอมรับ Financial Technology ดังกล่าว ให้เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ที่เท่าเทียมกันของธนาคาร ไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงการพยายามก้าวตามเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมเดิมเท่านั้น แต่ยังชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีไม่ได้เป็นแต่เพียงผู้ทำลายล้าง แต่ สามารถสร้าง และมอบโอกาสที่ดี ในการพัฒนา และเติบโตไปอีกขั้นให้กับธุรกิจเดิมด้วย ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์ที่สุด คือ ลูกค้า ที่ทุกอย่างจะง่ายขึ้นด้วยเทคโนโลยี และมั่นใจได้มากขึ้นเพราะอยู่ใต้การรองรับของระบบธนาคาร

Ref.https://techcrunch.com/2019/01/03/automation-will-be-the-end-of-banks-as-we-know-them/https://techcrunch.com/2018/11/08/grab-kasikorn/

_______________________________________________________________________

คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร