Perspectives

4 เคล็ดลับลดความเสี่ยง (Risk) ในการลงทุน

by
PeerPower Team
October 1, 2020

4 เคล็ดลับลดความเสี่ยง (Risk) ในการลงทุน

สินทรัพย์ในตลาดทุนเอกชน (Private Capital Market) เช่น หุ้นนอกตลาด ธุรกิจการร่วมลงทุน หรือเฮดจ์ฟันด์ มีความซับซ้อนและยังมีความเสี่ยงสูง นักลงทุนมือใหม่มักพลาดจนเป็นเหตุให้ต้องเสียเงินทุน แต่ในความเป็นจริงเราสามารถหลีกเลี่ยงภาวะขาดทุนได้ หากเราศึกษาข้อมูลและรู้กลวิธีมากพอ

หุ้นกู้คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) ของเพียร์ พาวเวอร์ ก็จัดอยู่ใน Private Capital Market เช่นกันครับ ดังนั้นทางเราจึงรวบรวมข้อผิดพลาดทั่วไปของนักลงทุนมือใหม่ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มนักลงทุนของเรา

4 เคล็ดลับลดความเสี่ยง (Risk) ในการลงทุน

กระจายความเสี่ยงในการลงทุน

การกระจายความเสี่ยง (Diversification) เป็นวิธีลงทุนที่ได้รับความนิยมในตลาดทุนเอกชน ซึ่งถือเป็นตลาดสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ลองนึกภาพว่าถ้าเราใส่ไข่ทุกฟองในตะกร้าใบเดียวกัน ไข่ทั้งหมดจะเสียหายหากตะกร้าใบนั้นเป็นอะไรไป การกระจายความเสี่ยงจะช่วยลดความเสี่ยงที่นักลงทุนจะเสียไข่ทุกฟองครับ

การกระจายความเสี่ยงยังเหมาะกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในยุคหลัง COVID-19 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่สภาวะถดถอย ราคาสินทรัพย์มีความแปรปรวนสูง ส่งผลให้เรากำลังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน มีบริษัทที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งในแง่บวกและลบ ดังนั้นถ้าเรากระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลายประเภท เราจะสามารถหลบเลี่ยงภาวะขาดทุน หรืออาจจะทำกำไรได้ด้วยซ้ำครับ

การกระจายความเสี่ยงมีอยู่หลายประเภท เช่น

4 เคล็ดลับลดความเสี่ยง (Risk) ในการลงทุน
  1. กระจายภายในประเภทสินทรัพย์เดียวกัน (Intra-Asset Diversification) เป็นการกระจายความเสี่ยงโดยเลือกลงทุนสินทรัพย์หลายตัวในกลุ่มสินทรัพย์เดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นลงทุนหุ้นนอกตลาด (Private Equity) กับบริษัทหลายแห่ง ด้วยความที่เราไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่นอนว่าบริษัทใดจะประสบความสำเร็จ การกระจายความเสี่ยงจึงช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้เป็นอย่างดี
  2. กระจายข้ามประเภทสินทรัพย์ (Inter-Asset Diversification) เป็นการกระจายความเสี่ยงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด นักลงทุนจะลงทุนสินทรัพย์หลายตัวในกลุ่มสินทรัพย์หลากประเภท เช่น หุ้นนอกตลาด เฮดจ์ฟันด์ คราวด์ฟันดิง และอื่นๆ นักลงทุนที่เลือกกระจายความเสี่ยงประเภทนี้จะได้เปรียบเมื่อกลุ่มสินทรัพย์ประเภทหนึ่งมีมูลค่าลดลงทั้งตลาด แต่กลุ่มสินทรัพย์อีกประเภทกลับมีมูลค่าสูงขึ้นมาก จนเมื่อหักลบกันก็ยังเป็นกำไร

หุ้นกู้คราวด์ฟันดิงก็เป็นตัวเลือกที่สอดคล้องกับการกระจายความเสี่ยงทั้งสองประเภท นักลงทุนสามารถเลือกกระจายความเสี่ยงในประเภทสินทรัพย์เดียวกัน โดยเลือกลงทุนหุ้นกู้กับบริษัทหลายแห่งที่มาเสนอออกหุ้นกู้กับแพลตฟอร์ม หรือหากเลือกกระจายความเสี่ยงข้ามประเภทสินทรัพย์ หุ้นกู้คราวด์ฟันดิงก็จะให้ผลตอบแทนในระยะยาวที่ค่อนข้างมั่นคง

เข้าใจความเสี่ยงและผลตอบแทน

สินทรัพย์ในตลาดทุนเอกชนให้ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นการทำความเข้าใจความเสี่ยงและผลตอบแทน (Risk&Reward) จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจลงทุน นักลงทุนควรทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างการลงทุนกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีประวัติและความมั่นคงสูง กับบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีที่เพิ่งเริ่มต้น บริษัททั้งสองแบบให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงไม่เท่ากัน ยิ่งความเสี่ยงมาก ผลตอบแทนก็ยิ่งสูง (“high risk, high reward”)

นอกจากนั้นนักลงทุนควรพิจารณาว่าสามารถรับความเสี่ยงได้แค่ไหน เพราะนักลงทุนแต่ละคนแบกรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน การรู้จักความเสี่ยงของตัวเองจะทำให้เราเข้าใจว่าเราเหมาะกับสินทรัพย์ประเภทไหนมากกว่ากันครับ

สำหรับหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ทางเพียร์ พาวเวอร์ได้จัดระดับความเสี่ยงออกเป็น 5 ระดับ โดยความเสี่ยงแต่ละเกรดจะมีอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันตั้งแต่ 8-22% ดังนั้นนักลงทุนสามารถประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทนของผู้เสนอหุ้นกู้ และความเสี่ยงที่ตนพร้อมรับเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนได้

ค้นคว้าข้อมูลของบริษัทที่จะลงทุน

นักลงทุนชื่อดังทั่วโลกตัดสินใจโดยมีข้อมูลเป็นพื้นฐาน ข้อมูลจะช่วยให้เราประเมินความน่าเชื่อถือก่อนลงทุน บริษัทที่เราลงทุนมีแผนธุรกิจในอนาคตเช่นไร? ใครเป็นคณะกรรมการบริหารของบริษัทแห่งนี้? บริษัทได้รับการรับรองทางกฏหมายจริงหรือไม่? ผลการดำเนินงานในอดีตก็เป็นอีกปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม นักลงทุนควรหมั่นหาข้อมูลก่อนตัดสินใจ เนื่องจากเงินทุนที่ใช้ลงทุนเป็นเงินของนักลงทุนเอง

ทางเพียร์ พาวเวอร์จัดทำหนังสือชี้ชวน (Prospectus) ให้นักลงทุนที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลก่อนลงทุนหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง โดยหนังสือชี้ชวนจะเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจสอบเอกสารสำคัญ และการลงพื้นที่ตรวจสอบและสัมภาษณ์พนักงาน สามารถอ่านบทความแนะนำหนังสือชี้ชวนของเราได้ที่นี่

คาดหวังผลตอบแทนอย่างใจเย็น

ส่วนมากตลาดทุนเอกชนมีขอบเขตระยะเวลาสร้างผลตอบแทนนาน ในบางกรณีนักลงทุนอาจต้องรอนานมากถึง 10 ปีกว่าจะสามารถถอนเงินทุนออกมาได้ ดังนั้นนักลงทุนตลาดทุนเอกชนจึงต้องมองการณ์ไกลและคาดหวังผลตอบแทนอย่างใจเย็น

ในส่วนของระยะเวลา ทางเพียร์ พาวเวอร์ มีขอบเขตเวลาอยู่ที่ 6 – 24 เดือน โดยจะขึ้นอยู่กับความประสงค์ของบริษัทที่เสนอขายหุ้นกู้ หุ้นกู้คราวด์ฟันดิงจึงเป็นสินทรัพย์ที่มีระยะเวลาที่ชัดเจน แตกต่างจากหุ้นสามัญ หรือกองทุนอื่น ๆ นักลงทุนสามารถนำเอาขอบเขตที่ตนต้องการมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาก่อนลงทุนได้ครับ

เคล็ดลับเหล่านี้จะช่วยเป็นเครื่องมือของนักลงทุนในตลาดทุนเอกชน นักลงทุนท่านใดที่สนใจลงทุนหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสมัครเป็นนักลงทุนของเพียร์ พาวเวอร์ได้จากลิงก์ด้านล่างเลยครับ

ข้อมูล: ISTOX, A-Academy, Investopedia, Passiveway

Author
PeerPower Team

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร