Success Strategy

Gen Z กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน เจ้าของธุรกิจต้องปรับตัวตาม

by
February 27, 2019

5 สิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้ กับ Gen Z ที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน

Gen Z หรือ คนที่เกิดในช่วงปี ค.ศ. 1997 - 2010 มีอายุตั้งแต่ 9 - 22 ปี ซึ่งก็คือกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่กำลังจะเข้ามาเป็นตลาดแรงงานที่สำคัญในอนาคต วันนี้ เพียร์ พาวเวอร์ ชวนผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจทั้งหลายทำความเข้าใจกับความคิดและธรรมชาติของคน Generation นี้พร้อมวิธีการเตรียมตัวรับมือในการทำงานร่วมกัน

ลักษณะนิสัยและความคิดของคน Gen Z

คนเจนเนอเรชั่นนี้เกิดและเติบโตในยุคที่เศรษฐกิจกำลังเฟื่องฟู มีนิสัยที่ชอบเก็บเงิน สนใจในการลงทุน ชอบที่จะเรียนรู้จากการลงมือทำด้วยตัวเอง ทำให้มีแนวโน้มที่จะทำงานหนักมากกว่าคนรุ่นก่อน ๆ และคาดว่าในอนาคตคนเจนเนอเรชั่นนี้หนึ่งคนจะทำหน้าที่ที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิมนอกจากนี้คนเจนเนอเรชั่น Z สนใจในการทำงานกับบริษัทที่มีขนาดกลางถึงใหญ่ขึ้นไป เพราะต้องการมองหางานที่ให้ความมั่นคงและมีลู่ทางในการเติบโต มีจุดเด่นคือใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องตัว เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เรียนรู้สิ่งใหม่ได้ใระยะเวลาอันสั้น มีทักษะการสื่อสารและการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว

ข้อเสียของคน Gen Z ที่ต้องระวัง

    1. ใจร้อน มีความอดทนต่ำ ไม่ชินกับการรอคอย เพราะ เติบโตมากับเทคโนโลยีและการตอบสนองที่รวดเร็ว
    2. มีแนวโน้มในการเป็นมนุษย์หลายงาน คือ ชอบทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน
    3. มีความมั่นใจในความคิดตัวเองสูงและกล้าที่จะแสดงออก
    4. มีคำถามตลอดเวลา ทำให้ในการทำงานร่วมกันต้องอธิบายถึงเหตุผล หลักการ และขั้นตอนให้กระจ่าง
    5. มีอัตราการเปลี่ยนงานถี่กว่าคนในยุคก่อน ๆ

สิ่งที่ผู้ประกอบการ หรือองค์กรต้องเตรียมรับมือกับคน Gen Z

1.สร้างคุณค่าในการทำงานให้มากขึ้น

84% ของคนเจนเนอเรชั่น Z พร้อมที่จะทำงานหนักขึ้น โดยเฉพาะกับบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ และมีระบบการเงินของบริษัทที่ดี เพราะด้วยค่าแรงที่ค่อนข้างคงที่ในขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพหรือค่าเล่าเรียนที่แพงขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนเจนเนอเรชั่น Z นั้นจะกังวลเรื่องการเงินในอนาคตของพวกเขามากขึ้น ทำให้เขามองหาการทำงานที่ก้าวหน้าได้มากขึ้น และเชื่อว่าเขาจะเปลี่ยนงานมากกว่า 10 ครั้งในช่วงอายุ 18-34 ปีการสร้างคุณค่าในการทำงานอาจจะสามารถเป็นได้ทั้ง การเลื่อนต่ำแหน่ง หรือการเพิ่มเงินเดือน สำหรับคนเจนเนอเรชั่น Z แล้วการให้โบนัสเป็นเงินนั้นจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานได้มากกว่าคนกลุ่ม Millennial แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเจ้าของกิจการก็ควรที่จะสร้างวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน เพื่อให้พนักงานเกิดแรงจูงใจที่จะพัฒนาตัวเองและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

2. ปรับองค์กรให้รองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ

เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆบวกกับการเปลี่ยนผ่าน Generation ที่คนรุ่นใหม่ทยอยเข้ามาแทนที่ คนทำงานในระดับหัวหน้าหรือตำแหน่งอาวุโสนั้นจะต้องเข้าใจและปรับตัวให้เทคโนโลยีเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย เพราะ คนเจนเนอเรชั่น Z จะสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องตัวและพร้อมที่จะเชื่อมต่อกับงานตลอด 24 ชั่วโมงและตลอด 7 วันต่อสัปดาห์และพร้อมที่จะทำงานได้จากทั่วทุกมุมโลก นอกจากนี้พวกยังเติบโตมาพร้อมกับการเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายทำให้พวกเขาเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้นในขณะที่อนาคตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบซอฟต์แวร์ต่างก็ถูกพัฒนาให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องระวังเกี่ยวกับคนทำงานเจนเนอเรชั่น Z ก็คือ พวกเขาอาจจะถูกโลกโซเชียลเบี่ยงเบนความสนใจจนไม่เป็นอันทำงานได้ ผลจากการสำรวจพบว่า คนส่วนใหญ่มักจะใช้เวลามากกว่า 25 นาทีกว่าที่จะออกจากโลกโซเชียลและกลับมาตั้งใจทำงานได้ คาดว่าในอนาคตจะมีช่องทางในการจัดการการสื่อสารขององค์กรใหม่เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แบบที่ไม่ต้องมานั่งเสียเวลาอ่านซ้ำหรือทำความเข้าใจใหม่ๆ วันละ 10-15 นาที

3. ผู้จัดการหรือหัวหน้างานต้องเรียนรู้หน้าที่ในการทำงานใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

อีกไม่นานคนกลุ่ม Millennial ก็จะขยับขึ้นมาเป็นหัวหน้างานหรือผู้จัดการ ในขณะที่คนเจนเนอเรชั่น Z ก็จะเข้าสู่ตลาดแรงงานที่มากขึ้น แต่ดูเหมือนว่าชาว Millennials หลายคนนั้นกลับยังไม่ได้เตรียมตัวกับสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทักษะการแก้ไขสถานการณ์ การเจรจาต่อรอง หรือการบริหารจัดการคนก็ตามในขณะที่ กว่า 45% ของคน Baby Boomer และ คนเจนเนอเรชั่น Z มองว่าการขาดทักษะเหล่านี้จะส่งผลร้ายกับองค์กร ผู้ประกอบการจึงควรที่จะต้องเล็งเห็นถึงความสำคัญในส่วนนี้และให้คนกลุ่ม Millennial รู้จักที่จะเรียนรู้และสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้

4. สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Generation อย่างต่อเนื่อง

มีเพียงแค่ 55% ของพนักงานทั่วโลกเท่านั้นที่รู้สึกว่าการทำงานระหว่างแผนกในองค์กรนั้นมีประสิทธิภาพ ซึ่งตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่า คนกลุ่ม Millennial และเจนเนอเรชั่น Z นั้นต้องการการพูดคุย หรือยินดีที่จะรับฟังผลตอบรับจากการทำงานมากกว่าคนรุ่นก่อน ๆ และมากกว่า 40% ของพนักงานส่วนใหญ่แล้วต้องการการพูดคุยแบบต่อหน้าหรือการประชุมเป็นทีมมากกว่าการพูดคุยผ่านอีเมล์ดังนั้นแล้วในฐานะที่คุณเป็นเจ้าของกิจการ หรือหัวหน้างานก็ควรที่จะพูดคุยกับพนักงานแบบต่อหน้าให้มากขึ้น ชื่นชมหรือตำหนิงานไปตามความจริง หรือจัดการประชุมอย่างเช่น การ Brainstorm เพื่อให้รู้สึกถึงการทำงานเป็น Teamwork และยังเป็นการลดช่องว่างระหว่าง Generation ได้มากขึ้นอีกด้วย

5. เตรียมสู้กับความเครียดและความกดดันที่มากขึ้นในที่ทำงาน

ในอนาคตจะงานจะมีลักษณะที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ที่มากขึ้น ซึ่งจะทำให้คนทั้งกลุ่ม Millennial และกลุ่มเจนเนอเรชั่น Z นั้นต้องเผชิญกับความเครียดที่มากขึ้นและมีโอกาสที่จะระเบิดอารมณ์ด้วยการลาออกมากขึ้น ผลจากการสำรวจความเครียดของคนทำงานอายุ 18-47 ในอเมริกาพบที่ระดับความเครียดเต็ม 10 คนกลุ่มนี้มีความเครียดอยู่ที่ 5.4 คะแนน โดยที่ค่าความเครียดเฉลี่ยจากทั่วประเทศอยู่ที่ 4.9 เท่านั้น ซึ่งตัวเลขที่เหมาะสมและดีต่อสุขภาพจิต คือ 3.6เจ้าของกิจการไม่ควรมองว่าความเครียดเหล่านั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะ 80% ของการผิดพลาดในงานนั้นล้วนเป็นผลมาจากความเครียดสะสม การยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาเข้างาน สถานที่ทำงาน หรือวันหยุดพักผ่อนยาวก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เกิดประโยชน์กับบริษัทของคุณได้เช่นกัน

_______________________________________________________________________

คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร