7 เทรนด์ FinTech ที่น่าจับตามองในปี 2018

by
January 5, 2018

7 เทรนด์ FinTech ที่น่าจับตามองในปี 2018

1. Blockchain และ Cryptocurrency

สำหรับใครที่ติดตามวงการฟินเทค คงไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า Blockchain หรือ Cryptocurrency ที่คนหันมาให้ความสนใจมากเป็นพิเศษในช่วงปีนี้ ในประเทศไทยเอง ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี blockchain อาจจะยังไม่แพร่หลายไปสู่วงกว้าง แต่จากข้อมูลการ search จาก Google ก็พบว่า เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มีคนค้นหา keyword "blockchain" เพิ่มขึ้นถึง 50%ตลาด Blockchain มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีคนคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 ตลาดนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 20 พันล้านเหรียญสหรัฐฯอุตสาหกรรมการเงินเป็นอุตสาหกรรมแรกๆ ที่นำ blockchain มาใช้ โดยข้อดีของ blockchain คือมีความปลอดภัยสูงมาก ซึ่งตัวอย่างการใช้งาน ได้แก่

           
  • การซื้อ-ขายหลักทรัพย์ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมถึงช่วยให้การซื้อขายเป็นไปได้เร็วขึ้น
  •        
  • การปล่อยสินเชื่อสามารถทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  •        
  • การโอนเงินข้ามประเทศจะถูกลงและเร็วขึ้น

ในส่วนของ Cryptocurrencies นั้น คนส่วนใหญ่จะยังเหมารวมสกุลเงินดิจิตอลว่าเป็นบิทคอยน์อยู่ แต่ในปี 2018 สกุลเงินดิจิตอลอื่นๆ จะเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในกลุ่มคนทั่วไป เช่น Ethereum, Bitcoin Cash, Litecoin, Ripple เป็นต้น นอกจากนี้ ICO จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในปีหน้า สิ่งที่น่าจับตามองคือทิศทางของวงการสกุลเงินดิจิตอลจะเป็นอย่างไรเมื่อนักลงทุนสถาบัน และบริษัทการเงินชั้นนำเข้ามาสู่ตลาดมากขึ้น ปี 2018 เราจะเห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้น จะเห็นได้ว่ารัฐบาลรวมถึงองค์การทางเศรษฐกิจบางรายเริ่มออกมาแสดงจุดยืนของตนเองแล้ว

2. Multiple Currency e-Wallet

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ เราจะเห็นว่ามี Digital Wallet เกิดขึ้นมากมาย เช่น Apple Pay, Samsung Payเราจะเห็นว่าคนจีนสามารถใช้ Alipay ใช้จ่ายในประเทศไทยได้ ในปี 2018 เราอาจจะเห็นพัฒนาการของ e-Wallet ของไทยที่ไม่เพียงแต่สามารถทำธุรกรรมในประเทศเท่านั้น แต่สามารถทำธุรกรรมในต่างประเทศได้ด้วย ซึ่งจะอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ เพราะเพียงแค่พกสมาร์ทโฟนก็ชำระเงินได้ ไม่ต้องพกเงินสดนอกจากนี้ในปี 2018 คุณจะเริ่มเห็น e-Wallet ที่ผู้ใช้สามารถแปลงเงินดิจิตอล หรือโอนเงินดิจิตอล เช่น บิทคอยน์ ข้ามวอลเล็ทได้อีกด้วย

3. Payment Security

การแฮ็คข้อมูลที่เกิดขึ้น ผลักดันให้สถาบันการเงินเพิ่มระดับความปลอดภัยเพื่อป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ รวมถึงปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของเว็บไซต์ให้มีความเสถียรและยากต่อการถูกแฮ็ค เราจะเห็นว่ามีการนำเทคโนโลยีไบโอเมทริกซ์ เช่น การจดจำใบหน้า สแกนม่านตา สแกนลายนิ้วมือเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัย เราเชื่อว่าในปี 2018 สถาบันการเงินจะเปลี่ยนบทบาทจาก "reactive" มาเป็น "proactive" มากขึ้น

4. Machine Learning

ในปี 2018 การนำ machine learning มาใช้ในวงการการเงินจะแพร่หลายมากขึ้น โดยสถาบันการเงินสามารถนำข้อมูล insight เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ใช้ ความคาดหวัง และการตอบรับของผู้ใช้ มาใข้ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น รวมถึงพัฒนาวิธีการสื่อสารแบบ 1:1 (personalization)

5. Next-Gen Chatbots

ในปัจจุบัน chatbot มีระดับความอัจฉริยะ (intelligence) อยู่ที่ 2-3 ปี ในอนาคต เราจะเห็นพัฒนาการของ chatbot มากขึ้น โดยความสามารถของการตอบสนองและการตัดสินใจจะมีความแม่นยำมากขึ้น เราอาจจะเห็นสถาบันการเงินนำ chatbot มาใช้ในฝั่ง support ลูกค้ามากขึ้น ซึ่ง chatbot จะตอบโจทย์ในเรื่องของความเร็ว และคุณภาพของการบริการ รวมถึงสร้างมาตรฐานในการตอบคำถามอีกด้วย

6. Big Data Analytics

Big Data เป็นสิ่งที่เราได้ยินกันมา 4-5 ปีแล้ว หลายๆ องค์กรได้นำ Big Data มาใช้อย่างจริงจัง ในส่วนของอุตสาหกรรมการเงินนั้น Big Data จะเข้ามาช่วยในเรื่องของ "personalization" โดยนำข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล demographics, social data, ข้อมูลการทำธุรกรรม, ประวัติการใช้งานผ่านมือถือและเว็บไซต์ ฯลฯ มาหา insight และ customer behavior และออกแบบประสบการณ์ที่ตอบโจทย์ ทำให้ผู้ใช้รู้สึก connect กับแบรนด์มากขึ้นนอกจากนี้ Big Data ยังทำงานคู่กับ Machine Learning เพื่อช่วยในการประเมินความเสี่ยง โดยการทำ predictive analytics จะช่วยกำจัดการฉ้อกลของการใช้บัตรเครดิตได้

7. AI & Robo Advisors

ในไม่กี่ปีอันใกล้นี้ จะเป็นยุคของหุ่นยนต์ เราจะเห็นว่า ปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence จะเข้ามามีบทบาทในหลายๆ ส่วนรวมถึงในด้านการลงทุนด้วยRobo-advisor คือบริการจัดการพอร์ตฟอลิโออัตโนมัติ โดยใช้อัลกอริทึมในการช่วยเลือกการลงทุนที่เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงและระยะเวลาในการลงทุน Robo-advisor อาจจะมาแทนที่ที่ปรึกษาทางการเงินในอนาคตA.T. Kearney ได้ทำการประเมินว่า robo-advisor จะเพิ่มขึ้น 68% ทุกปี และมูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นถึง 2.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯในอีก 5 ปีข้างหน้า

เพียร์ พาวเวอร์ คือผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งระบบคราวด์ฟันดิงคือตัวกลางในการระดมทุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยวิธีการออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ในขณะเดียวกันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนที่สามารถเข้ามาลงทุนในธุรกิจที่เสนอขายหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงในแพลตฟอร์มได้ สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ ที่นี่

_______________________________________________________________________

คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร