แนวทางของธุรกิจแฟชั่นในโลกยุค COVID-19

by
PeerPower Team
September 8, 2020

แนวทางธุรกิจ ‘แฟชั่น’ ในโลกยุค COVID – 19

ธุรกิจแฟชั่นถือเป็นวงการที่ต้องปรับตัวตามความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปเสมอ ถึงแม้ว่าธุรกิจแฟชั่นจะถูกจัดอยู่ในหมวดสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อปัจจัย 4 แต่ก็อยู่คู่เศรษฐกิจโลกมาโดยตลอด ตอนนี้หลายคนอาจคิดว่าธุรกิจแฟชั่นทั้งหมดจะมีรายได้ต่ำลงเพราะโควิด-19 แต่ในความเป็นจริงแล้วธุรกิจแฟชั่นที่ปรับตัวทันกลับมียอดขายที่สูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ อาทิเช่น ธุรกิจแฟชั่นที่ปรับตัวเข้ากับแพลตฟอร์มออนไลน์ก็ทำให้มียอดขายสูงขึ้นครับ

การเติบโตของธุรกิจแฟชั่นในยุค COVID-19

สำนักข่าว PRNewswire รายงานผลวิจัยของ AfterPay Insights ที่รวบรวมยอดขายของธุรกิจแฟชั่นตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมจนถึงมิถุนายน สถิติชี้ว่าธุรกิจแฟชั่นสามารถดึงลูกค้าให้มาซื้อสินค้าออนไลน์ได้สำเร็จ ฐานลูกค้าขยายไปยังกลุ่มผู้ชาย และเด็กมากขึ้น จากที่ปกติมีฐานลูกค้าหลักเป็นกลุ่มผู้หญิง อีกทั้งฐานลูกค้าที่ซื้อสินค้าทางออนไลน์อยู่แล้ว ยังสั่งสินค้าทางออนไลน์ถี่ขึ้นในช่วงกักตัว ส่งผลให้ยอดขายสินค้าแฟชั่นแบบ e-commerce ในหลายประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน และนอร์เวย์ เพิ่มขึ้นมาถึง 54%, 28% และ 61% ตามลำดับ

รายงานอีกฉบับของ PRNewswire ยังเผยว่ามีการคาดว่าในปลายปี 2020 ธุรกิจแฟชั่น อย่างธุรกิจแว่นตา จะมีมูลค่ารวมทั่วโลกถึง 125.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจะพุ่งขึ้นไปถึง 191 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2027 ถึงแม้ว่าจะมีวิกฤต COVID-19 ก็ตาม

ในด้านของอุตสาหกรรมแว่นตาไทย รายงานของ Marketeer กล่าวว่าตลาดแว่นตาไทยมีมูลค่า 10,000 ล้านบาท และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยทุกปีกว่า 10% อีกด้วย

แนวทางการปรับตัวในยุค New Normal

แนวทางของธุรกิจแฟชั่นในโลกยุค COVID-19

ยุค New Normal จะมาท้าทายธุรกิจแฟชั่นในทุกระดับ เมื่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ธุรกิจแฟชั่นจึงต้องปรับตัวตาม เพื่อสอดรับกับสภาพตลาดโดยคำนึงถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค เทคโนโลยี และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ  วันนี้ เพียร์ พาวเวอร์ ขอนำเสนอแนวทาง ในการปรับตัวของธุรกิจแฟชั่น ในยุค New Normal ได้ดังต่อไปนี้

การปรับเปลี่ยนสู่ E-commerce

การกักตัวอยู่บ้านทำให้ลูกค้าทั่วโลกหันมาซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ธุรกิจแฟชั่นของไทยหลายแห่งต้องหันมาพึ่งรายได้จากการขายสินค้าทางออนไลน์ ธุรกิจแฟชั่นอาจเปลี่ยนแนวทางในการมอบ Customer Journey ให้เหมาะสมกับรูปแบบตลาดออนไลน์ โดยปกติแล้วธุรกิจแฟชั่นออฟไลน์จะเริ่ม Customer Journey ที่หน้าร้านค้า ลูกค้าจะเดินเข้ามาเลือกสินค้าโดยที่ยังไม่รู้ว่าต้องการสินค้าใด แต่ในยุค New Normal ธุรกิจแฟชั่นออนไลน์ อาจจะเริ่ม Engage กับลูกค้าตั้งแต่ในอินเทอร์เน็ต ลูกค้าสามารถเล็งสินค้าไว้ก่อนที่จะเดินทางไปยังร้านค้าได้

แบรนด์แฟชั่นหลายแห่งก็เริ่มนำแนวทางนี้ไปปรับใช้แล้วครับ อย่างเช่น Pomelo ที่เพิ่งประกาศรวบแพลตฟอร์มแฟชั่นออนไลน์ Looksi เพื่อพัฒนาระบบ e-commerce ของตัวแบรนด์ ร้านค้าแฟชั่นในโลกหลัง COVID-19 จึงอาจเปลี่ยนบทบาทเป็นจุดลองสินค้าสำหรับลูกค้าเท่านั้น

ในส่วนของธุรกิจแฟชั่นที่ทำธุรกิจในรูปแบบออนไลน์เป็นหลักอยู่แล้ว ควรพัฒนาความสามารถทางออนไลน์ของตนเองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขยายช่องทางไปสู่แพลตฟอร์มอื่นในโลกอินเทอร์เน็ต การย่นระยะเวลาในการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า การบริการส่งตัวทดลองสินค้าให้ลูกค้าทางบ้านทดลองใส่ การเพิ่มทางเลือกในการชำระเงิน จนถึงการเพิ่มกระบวนการส่งคืนสินค้าซึ่งจะทำให้ลูกค้าไว้ใจที่จะสั่งสินค้ามากขึ้น

ลูกค้าต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แนวทางในการตอบสนองต่อเทรนด์ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีหลักๆ 2 ข้อครับ

แนวทางของธุรกิจแฟชั่นในโลกยุค COVID-19

1. ความโปร่งใสในการผลิต ปัจจุบันลูกค้าธุรกิจแฟชั่นต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเมื่อก่อน มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 เสื้อผ้าที่รักษาสิ่งแวดล้อมจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อเสื้อผ้าของผู้บริโภคในอนาคต ธุรกิจแฟชั่นสามารถสร้างความเชื่อใจกับลูกค้าด้วยการสร้างความโปร่งใสในการผลิต แบรนด์ที่มีจุดเด่นในด้านนี้คือ Everlane ซึ่งมีแคมเปญโปรโมตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หลักการของแบรนด์คือการทดแทนพลาสติกผลิตใหม่ (virgin plastic) ด้วยวัตถุดิบรีไซเคิลทั้งในกระบวนการผลิต แพคเกจสินค้า และร้านค้าทุกสาขา Everlane จึงเป็นแบรนด์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. กลยุทธ์การผลิตแบบ Nearshoring คือวิธีการผลิตที่กำลังเป็นเทรนด์สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่น Nearshoring คือแผนการย้ายฐานการผลิตมาผลิตใกล้ๆ กับประเทศแม่ เพราะถึงแม้ค่าใช้จ่ายในการผลิตของประเทศใกล้จะสูงกว่า แต่เมื่อรวมค่าการขนส่งแล้วกลับมีราคาที่ถูกกว่า วิธีการนี้นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งและนำเข้า ยังสามารถช่วยผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาด อีกทั้งช่วยให้ผู้ประกอบการลดขยะจากเสื้อผ้าเหลือทิ้ง แบรนด์ดังอย่าง Prada, Gucci และ Louis Vuitton ก็ใช้แผนการผลิตสินค้าส่วนใหญ่ในประเทศแถบยุโรปครับ

การลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มและเทคโนโลยี

ในยุค New Normal ธุรกิจแฟชั่นอาจนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยเป็นสื่อในการนำเสนองานแก่ลูกค้า เช่น การจัดแสดงแฟชั่นโชว์ในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual Sampling) การไลฟ์สตรีม และการจัด Digital Showroom ที่จะทำให้ลูกค้าสามารถสัมผัสสินค้าไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม เทคโนโลยียังช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นการติดตามพฤติกรรมของลูกค้าด้วยการใช้ระบบ AI หรือการใช้เทคโนโลยี 3 มิติเพื่อออกแบบสินค้าใหม่ แบรนด์แฟชั่น Tommy Hilfiger ก็มีแผนจะใช้ระบบออกแบบ 3 มิติกับกระบวนการออกแบบและการจัดแสดงสินค้าทั้งหมดภายในปี 2021

ในโลกหลัง COVID-19 ธุรกิจรีเทลที่เป็นหัวใจของวงการแฟชั่นจะต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปก็ต้องส่งผลให้ธุรกิจปรับตัว เพื่อการอยู่รอดในโลก New Normal สำหรับ ธุรกิจ ในแพลตฟอร์มของ เพียร์ พาวเวอร์ เรามีธุรกิจเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแฟชั่นเช่นกัน โดยเราคัดสรรเฉพาะธุรกิจ ที่มีแผนธุรกิจที่เหมาะสม พร้อมปรับตัวเข้ากับยุคปัจจุบัน และมีศักยภาพในการเติบโต ในการเข้ามาระดมทุนกับแพลต ฟอร์มเพียร์ พาวเวอร์ นักลงทุนสามารถตรวจสอบข้อมูล และแผนในการปรับตัวของธุรกิจได้ในหนังสือชี้ชวน และสามารถสมัครเป็นนักลงทุนกับเราได้โดย คลิกที่นี่

ที่มา: THTI DITP, Everlane,Vocast

Tags
Author
PeerPower Team

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร