Perspectives

2-10 Spread คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับการลงทุน

by
February 16, 2024

2-10 Spread คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับการลงทุน

เวลาเศรษฐกิจส่งสัญญาณแปลก ๆ ไม่ว่าจะดอกเบี้ยขึ้น ดอกเบี้ยลด ฯลฯ คนก็จะแห่ไปดูกราฟ 2-10 Spread ว่าตอนนี้เป็นยังไงหลายคนยังสงสัยว่ามันคืออะไร ซับซ้อนมั้ย

ดังนั้นบล็อกนี้เราเลยจะมาอธิบายว่าอะไรคือ กราฟ 2-10 Spread แล้วมันจะสามารถช่วยคุณดูแนวโน้มเศรษฐกิจยังไงได้บ้าง

2-10 Spread คืออะไร?

2-10 Spread คือ กราฟค่าส่วนต่างผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปี กับ 2 ปี เป็นเครื่องมือที่นักวิเคราะห์ใช้ดูแนวโน้มเศรษฐกิจว่าจะสดใสหรือถดถอย 

วิธีหาส่วนต่างคือเอาผลตอบแทนของพันธบัตรชนิด 10 ปี ลบด้วยผลตอบแทนพันธบัตรชนิด 2 ปี (10-2) ก็จะได้ตัวเลขที่ใช้ประเมินเศรษฐกิจได้คร่าว ๆ ดูได้ฟรีที่นี่ (คลิก)

กราฟ 2-10 Spread จากเว็บไซต์ของ Federal Reserve Bank of St. Louis

กราฟ 2-10 Spread อ่านยังไง?

ถ้าดูจากรูปประกอบจะเห็นว่ามีเส้นขึ้นลงในกราฟ 

  • หากกราฟเชิดอยู่ในแดนบวกเป็นเส้นโค้ง หรือที่เรียกว่า “yield curve” หมายความว่าผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี มากกว่า 2 ปี อนุมานได้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจเป็นยังเป็น “ปกติ” หรือ กำลังเติบโต
  • หากกราฟแบนเข้าใกล้ศูนย์หมายความว่า ผลตอบแทนพันธบัตรชนิด 10 ปีน้อยลง ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรชนิด 2 ปีเยอะขึ้น พูดง่าย ๆ ว่าความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี กับ 2 ปีมีน้อยลงจนเกือบเป็นศูนย์ และหากเป็นศูนย์เมื่อไหร่แปลว่าผลตอบแทนของพันธบัตรทั้งสองชนิดมีค่าเท่ากัน  
  • หากกราฟตกเข้าแดนลบหรือโค้งลง หรือที่เราได้ยินบ่อยในช่วงนี้ว่า “inverted yield curve”  หมายความว่าพันธบัตรอายุ 2 ปี ให้ผลตอบแทนมากกว่าพันธบัตรอายุ 10 ปี จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาพบว่า เมื่อ 2-10 Spread ติดลบมักเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจกำลังจะเข้าสู่ช่วงถดถอย (recession)
ดูแนวโน้มเศรษฐกิจถดถอยด้วย กราฟ 2-10 Spread หรือ ผลตอบแทนธนบัตร 2 และ 10 ปี PeerPower

2-10 Spread สำคัญยังไงกับนักลงทุน?

โดยปกติแล้วพันธบัตรรัฐบาลรุ่นที่อายุยาวมักให้ผลตอบแทนมากกว่าพันธบัตรรุ่นอายุสั้น 

ข้อนี้เหมือนเป็นจุดชดเชยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการลงทุนระยะยาว ยิ่งถ้าลงทุนนานเป็นสิบ ๆ ปีก็ต้องได้ดอกเบี้ยสูงตาม ดังนั้นต่อให้เอาผลตอบแทนมาลบกันยังไง ผลต่างระหว่างดอกเบี้ยพันธบัตรแบบ 10 ปี กับแบบ 2 ปี ควรจะมีค่าเป็นบวก…

แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นมากกว่าแบบระยะยาว เส้นกราฟ 2-10 Spread ก็จะเข้าสู่แดนลบ 

แนวโน้มที่เป็นไปได้คือ ธนาคารกลางสหรัฐ หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า “เฟด” (Fed) อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ สิ่งที่จะเกิดต่อมาคือสภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ recession 

2-10 Spread กับนโยบายการปล่อยกู้ของภาคการเงิน และผลกระทบต่อธุรกิจ

โดยปกติธนาคารจะพิจารณาปล่อยกู้โดยประเมินจากความสามารถในการชำระหนี้ เป็นหลัก

จากมุมมองของธนาคาร (หรือสถาบันการเงิน) ว่าเมื่อกราฟเข้าสู่แดนลบ สถาบันการเงินอาจมีแนวโน้มที่จะ ปล่อยกู้น้อยลงและเก็บรอไว้ลงทุนในระยะยาว เพราะธนาคารมักระมัดระวังมากกับเรื่องผลต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ซึ่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนของธนาคาร

พูดง่าย ๆ ก็คือ หากธนาคารไม่สามารถทำกำไรได้มากพอ หรือถ้าพิจารณาแล้วว่าไม่คุ้มที่จะเสี่ยง แนวโน้มการปล่อยเงินกู้ก็จะน้อยลง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจก็จะเดินได้ช้าตามไปด้วย

แต่ทั้งนีก็มีบางกรณีที่ปล่อยเงินกู้มากขึ้น แต่การพิจารณาสินเชื่อจะเป็นไปอย่างระมัดระวังเพื่อป้องการความเสี่ยงจากหนี้เสีย 

2-10 Spread กับระยะเวลาเข้าช่วงเศรษฐกิจถดถอย

คำถามสำคัญก็คือ เศรษฐกิจถดถอยจะมาเยือนเราเมื่อไหร่ กราฟตกปุ๊บ recession ทันทีเลยมั้ย??

จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาตั้งแต่กราฟส่วนต่างดอกเบี้ยเริ่มติดลบไปจนเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยจริง ๆ กินระยะเวลาสั้นยาวต่างกันไป แต่ก็มักใช้เวลาหลายเดือน ถ้าเห็นสัญญาณก็อย่าเพิ่งตระหนกเพราะมีเวลาเตรียมตัว อาจพิจารณาลงทุนสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ มาเสริมพอร์ตเตรียมรับแรงกระแทกได้

คำแนะนำสำหรับนักลงทุนในช่วงเศรษฐกิจถดถอย

  • เลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเหมาะสม เช่น ทอง อสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนแบบ “เชิงรับ” (defensive) ซึ่งหมายถึงการเลือกสินทรัพย์ในธุรกิจหมวดสินค้าจำเป็น เช่น หมวดอาหารและเครื่องอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน หรือหมวดธุรกิจที่เป็นเทรนด์ระยะยาวของโลก เช่น สังคมสูงวัย พลังงานหมุนเวียน เป็นต้น
  • ในช่วงที่ตลาดยังไม่แน่นอน ดอกเบี้ยไม่รู้จะขึ้นแค่ไหน ทางเลือกหนึ่งคือฝากเงินไว้กับหุ้นกู้ระยะสั้นที่เป็นโอกาสให้นักลงทุนปรับแผนได้ตามปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป
  • หาโอกาสลงทุนใน private market หรือการลงทุนในธุรกิจที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ ข้อดีคือสินทรัพย์ประเภทนี้จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าจากการผันผวนของตลาด ไม่ต้องมีการปรับราคาตามตลาด (mark to market) ซึ่งอาจทำให้มูลค่าสินทรัพย์ลดลง และนักลงทุนมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้บริหารธุรกิจโดยตรงเพื่อทำการบ้านศึกษาความเสี่ยงได้ละเอียดขึ้น ช่วยเพิ่มความมั่นใจในช่วงที่ต้องลงทุนอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ

หุ้นกู้บนแพลตฟอร์มของ เพียร์ พาวเวอร์ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุนในหุ้นกู้ระยะสั้นที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ นักลงทุนที่สนใจสามารถเปิดพอร์ตลงทุนกับเราได้ฟรี

บล็อกที่เกี่ยวข้อง

Private Assets และการลงทุนในคราวด์ฟันดิงเพื่อหนีความผันผวนตลาดหุ้น

เศรษฐกิจถดถอย Recession ลงทุนอะไรดี? แนวทางการลงทุนปี 2567

‍คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร