Peer Story

Local Alike การท่องเที่ยวไทยเพื่อชุมชนในปี 2021

by
November 10, 2020

Local Alike การท่องเที่ยวไทยเพื่อชุมชนในปี 2021

รากเหง้าจางหาย ธรรมชาติถูกทำลาย คนท้องถิ่นย้ายถิ่นฐานสู่ความลืม จาก 'คนที่นี่' เป็น 'คนที่อื่น' ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาเรื้อรังของภาคท่องเที่ยวไทย และเมื่อบวกกับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 แล้วคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะพูดว่าอนาคตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยดูน่าเป็นห่วง แต่ยังมีธุรกิจท่องเที่ยวที่ยังยืนหยัดเพื่ออุดมการณ์ทางสังคมพร้อมทั้งร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด-19 หนึ่งในนั้นคือ Local Alike ธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชน

Local Alike กับการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน

โลเคิล อไลค์ เกิดจากการปลุกปั้นของ คุณสมศักดิ์ บุญคำ (ไผ) ที่มีเป้าหมายเชื่อมต่อการเที่ยวโดยชุมชนกับนักท่องเที่ยวที่สนใจในเรื่องท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) ซึ่งนอกจากจะเป็นแพลตฟอร์มแล้วที่นี่ยังเป็นพาร์ทเนอร์กับชุมชนในระยะยาว มีขั้นตอนการทำงานร่วมกับชุมชนตั้งแต่การวางแผนรูปแบบการเที่ยว จนถึงการถ่ายทอดเครื่องมือการเที่ยวที่ช่วยในการพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนในระยะยาว

การท่องเที่ยว-local alike-1
ภาพทริปของโลเคิล อไลค์ จากเพจ TOMS

นอกจากที่คนในท้องถิ่นไม่ได้รายได้จากภาคท่องเที่ยว ปัญหาของอุตสาหกรรมนี้ยังเกิดจากการที่ทรัพยากรและวิถีชีวิตของพวกเขาถูกทำลาย เพราะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมมักทำการตลาดเกี่ยวเนื่องกับการเที่ยวเป็นหลัก เช่นโรงแรม และกิจกรรมนำเที่ยว พวกเขาไม่คำนึงถึงการนำเสนอคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว เช่น วิถีชีวิต ลักษณะภูมิศาสตร์ ความทรงจำของพื้นที่และชุมชน ทั้ง ๆ ที่การคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้จะสร้างเอกลักษณ์ให้กับท้องถิ่นได้ครับเมื่อเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไม่ถูกส่งเสริม ตัวตนประจำท้องถิ่นจะเลือนหาย ส่วนคนท้องถิ่นดั้งเดิมจำนวนมากที่สู้ค่าครองชีพที่สูงขึ้นเพราะนักท่องเที่ยวไม่ไหว ก็จะย้ายถิ่นฐานโดยขายที่ให้กับคนต่างถิ่นเพื่อทำธุรกิจท่องเที่ยว และในอนาคตพื้นที่ที่พัฒนาแค่ด้านท่องเที่ยวท่องจะกลายเป็น 'เมืองมิติเดียว' หรือเมืองที่พัฒนาไปแค่ด้านเดียวจนการแข่งขันในหมู่ผู้ประกอบธุรกิจที่ทำธุรกิจแนวเดียวกันสูงมากเกินหลักเหตุผลLocal Alike จึงต้องการเข้ามาแก้ปัญหาการท่องเที่ยวไทย 3 ประการ ได้แก่

1.ชุมชนไม่มีรายได้จากการท่องเที่ยว

ตามข้อมูลของ Billion Mindset ในปี 2018 รายได้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยคิดเป็น 21.6% และเมื่อตัดประเทศที่มีประชากรต่ำกว่า 20 ล้านคน ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก แต่รายได้เหล่านี้ไปไม่ถึงมือคนท้องถิ่น และไปหยุดอยู่ที่โรงแรมและบริษัทท่องเที่ยว ชุมชนท่องเที่ยวจึงไม่สามารถยืนด้วยแข้งขาตัวเองได้

2.ชุมชนไม่สามารถเข้าถึงนักท่องเที่ยวด้วยตัวเอง

ชุมชนหลายแห่งในประเทศไทยมีพื้นที่และศักยภาพที่เอื้อที่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแต่ไม่สามารถเข้าถึงนักท่องเที่ยวตามช่องทางประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ นักท่องเที่ยวเองก็ไม่สามารถเข้าถึงชุมชนได้ ทำให้ทริปท่องเที่ยวจำนวนมากเกิดขึ้นแต่ในสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมอยู่แล้วเท่านั้น

3.ไม่เกิดการเที่ยวแบบยั่งยืนขึ้นจริง

ปัจจุบันการเที่ยวแบบยั่งยืนกลายเป็นเทรนด์มาแรง ทีมงานของโลเคิล อไลค์กล่าวว่าจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาค้นข้อมูลเรื่องเที่ยวไทยกว่า 22 ล้านคนมีประมาณ 20% ที่สนใจจะเที่ยวแบบยั่งยืน แต่การเที่ยวแบบยั่งยืนในบางครั้งกลับไม่ยั่งยืนอย่างแท้จริงเนื่องจากชาวบ้านไม่ได้เป็นเจ้าของแพ็กเกจทัวร์หรือมีส่วนร่วมในการจัดเที่ยวเป้าหมายเหล่านี้จะบรรลุด้วยโมเดลการทำงาน 5 ขั้น คือ

การท่องเที่ยว-Local Alike

1.การพัฒนาแผนการเที่ยวร่วมกับชุมชนจนกว่าชุมชนจะยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง

2.ใช้แพลตฟอร์มเพื่อช่วยให้ชุมชนเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยวได้โดยตรง

3.ติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลงไปทำงานกับชุมชนอย่างจริงจัง

4.ดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนส่วนกลางของชุมชน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาส่วนกลาง ทำให้การเที่ยวพัฒนาชุมชนได้จริง

5.เป็นกระบอกเสียงให้ชุมชน ให้ภูมิปัญญาที่ถูกซ่อนอยู่ได้เป็นที่รับรู้มากขึ้น

วันนี้เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ LocalAlike.com เราจะเห็นแพ็กเกจทัวร์แบบยั่งยืนที่ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่ทริปหนึ่งคืนที่แม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่ จนถึงทริปกินอาหารครึ่งวันที่เยาวราชซึ่งเปี่ยมไปด้วยการให้ความรู้โดยคนในชุมชน ซึ่งแน่นอนว่าทริปเหล่านี้ให้ผลตอบแทนแก่ชุมชนอย่างเป็นธรรมความประทับใจแรกของคนส่วนมากเมื่อได้รู้จักที่นี่จึงหนีไม่พ้นหลักการที่เป็นจุดเด่นของที่นี่ Local Alike ต้องการเกื้อหนุนชุมชนท้องถิ่น พวกเขายึดถือความสำเร็จของธุรกิจจากความเข้มแข็งและความสุขของชุมชน ซึ่งนอกจากภาคชุมชนแล้ว Local Alike ยังร่วมมือทำโครงการกับภาครัฐเพื่อรับมือวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวอีกด้วย

การร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อแก้ไขวิกฤตการท่องเที่ยว COVID-19

วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบทั่วโลกอย่างรุนแรงโดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในส่วนของประเทศไทย ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ระบุว่ามาตรการปิดน่านฟ้าเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของประเทศไทยส่งผลให้ไตรมาสสองของปี 2020 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 100% และค่อยกลับมาฟื้นตัวจากการผ่อนปรนมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐตั้งแต่ไตรมาสสามของปี 2020ดร. ยรรยงคาดการณ์ว่าในปีนี้ประเทศไทยจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเหลือเพียง 9.8 ล้านคนจาก 40 ล้านคนในปี 2019 ส่วนตัวเลขของไทยเที่ยวไทยจะมีอยู่ที่ 75.7 ล้านทริป จาก 130.3 ล้านทริป ซึ่งตามข้อมูลเที่ยวบินภายในประเทศทั่วโลกและเอเชียของ OAG Schedule Analyzer จะพบว่าประเทศไทยมีจำนวนเที่ยวบินลดลง 27% เมื่อเทียบกับปี 2019 ในขณะที่เฉลี่ยทั่วโลกลดลงไปถึง 35%

การท่องเที่ยว-local alike-stats

กลุ่มนักท่องเที่ยวหลักของไทยเที่ยวไทยในยุคหลังโควิด-19 คือกลุ่ม Millennials ที่เดินทางท่องเที่ยวในรูปแบบค้างคืนในแหล่งท่องเที่ยวที่มีระยะเวลาเดินทางไม่เกิน 2-3 ชั่วโมง และนิยมพักในโรงแรมระดับกลางเพราะความต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ เทรนด์ดังกล่าวของกลุ่ม Millennials นี้ก็กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกด้วยเช่นกันที่ผ่านมารัฐบาลไทยจึงพยายามกระตุ้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภายในประเทศอย่างโครงการเช่น “เที่ยวปันสุข” รวมถึงโปรโมชันส่งเสริมการขายที่ดึงดูดใจจากภาคเอกชน อย่างไรก็ตามธนาคารแห่งประเทศไทยวิเคราะห์ว่ารายได้ของไทยเที่ยวไทยก็ไม่สามารถชดเชยรายได้ที่หายไปจากภาคต่างชาติที่เคยสร้างมูลค่ากว่า 2.9 ล้านล้านบาท และการจ้างงานกว่า 8.3 ล้านตำแหน่งในปี 2019 เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้

  • รายได้จากไทยเที่ยวไทยเป็นเพียง 1 ใน 3 ของรายได้ภาคท่องเที่ยวทั้งหมด เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าคนไทยถึง 2 เท่า และมีจำนวนวันพักเฉลี่ยสูงกว่าคนไทย
  • การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังกระจุกตัวในบางจังหวัดและในช่วงวันหยุดเท่านั้น จังหวัดที่มีอัตราพึ่งพานักท่องเที่ยวสูงอย่าง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ฟื้นตัวได้ช้ากว่าจังหวัดที่อยู่ใกล้กรุงเทพ เช่น ประจวบคีรีขันธ์ อยุธยา และชลบุรี
  • ผลของมาตรการกระตุ้นไทยเที่ยวไทยยังจำกัด เพราะจำนวนผู้ใช้สิทธิที่พัก “เราเที่ยวด้วยกัน” มีเพียง 29% ของจำนวนสิทธิทั้งหมด 5 ล้านสิทธิ และผู้ใช้สิทธิตั๋วเครื่องบินมีเพียง 4% ของจำนวนสิทธิทั้งหมด 2 ล้านสิทธิ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก

การเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวให้มากขึ้นอาจเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากที่สุดแม้จะมีความเสี่ยงตามมาก็ตาม ดังนั้นภาครัฐต้องมีวิธีการบริหารจัดการนักท่องเที่ยวอย่างเหมาะสมก่อนที่จะเปิดประเทศอีกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดในระลอกที่สองนั้นเองครับโลเคิล อไลค์จึงมีบทบาทในการร่วมมือกับรัฐบาลจัดโครงการ Amazing Thailand Safety & Health Administration (SHA) ขององค์กรท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านสุขอนามัยให้กับนักท่องเที่ยว โดยพิจารณามาตรการควบคุมโควิด-19 ของสถานประกอบการ และบริการท่องเที่ยวตามที่กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขกำหนดธุรกิจท่องเที่ยวยังจะเป็นแหล่งรายได้ของประเทศไทยในโลกหลังโควิด-19 แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวในภาพรวมต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูให้กลับมาในระดับเดิม และปัญหาเรื่องการเที่ยวที่ไม่ยั่งยืนยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลายในไทย แต่ก็ยังมีองค์กรภาครัฐอย่างสถาบันท่องเที่ยวโดยชุมชน (The Thailand Community Based Tourism Institute) หรือกลุ่มเอกชนอย่างโลเคิล อไลค์ที่กระตุ้นให้การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเติบโตในประเทศไทย

ในแพลตฟอร์มของ เพียร์ พาวเวอร์ เรามีธุรกิจเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเช่นกัน โดยเราคัดสรรเฉพาะธุรกิจ ที่มีแผนธุรกิจที่เหมาะสม พร้อมปรับตัวเข้ากับยุคปัจจุบัน และมีศักยภาพในการเติบโต นักลงทุนสามารถตรวจสอบข้อมูล และแผนในการปรับตัวของธุรกิจได้ในหนังสือชี้ชวน และสามารถสมัครเป็นนักลงทุนกับเราได้โดย คลิกที่นี่

ข้อมูล: CreativeMOVE, eTatjournal, LongtunMan

______________________________________________________________________________________

คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร