Perspectives

"ฝากประจำ" ยังน่าลงทุนอยู่ไหม? แบบไหนคุ้มค่าสุด

by
March 4, 2019

การฝากประจำ (Fixed Deposit) เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินตัวแรกๆ ที่นักลงทุนมักจะนึกถึง เพราะถือเป็นการลงทุนที่ซับซ้อนน้อย และมีความเสี่ยงต่ำ

  • การฝากประจำคือการนำเงินไปฝากไว้กับธนาคารโดยจะไม่ถอนเงินส่วนนั้นออกมาถ้ายังไม่ครบสัญญา
  • ระยะเวลาในการฝากประจำเริ่มตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
  • ถ้ามีการถอนก่อนครบกำหนดสัญญาดอกเบี้ยที่ได้อาจจะลดลงหรือไม่ได้เลย
  • บัญชีเงินฝากประจำ (Fixed Deposit Account) มี 2 ประเภทคือฝากประจำแบบทั่วไป (General Deposit Account) กับฝากประจำแบบปลอดภาษี (Tax Free Monthly Deposit)
  • การฝากประจำให้ดอกเบี้ยประมาณ 0.4 - 3% แล้วแต่เงื่อนไขด้านของธนาคารและระยะเวลาในการฝาก
  • ผลตอบแทนจากการฝากประจำคือดอกเบี้ย (Interest) ซึ่งถ้าเป็นการฝากประจำแบบทั่วไปจะมีการหักภาษีจากผลตอบแทนหรือดอกเบี้ย 15%

"ฝากประจำ" ยังน่าลงทุนอยู่หรือไม่ แบบไหนคุ้มค่าสุด

ถ้าไปคุยกับคุณปู่คุณย่า หรือ คนรุ่นผู้ใหญ่หน่อย เรื่องการลงทุน หรือ การเก็บออม เชื่อว่าตัวเลือกหนึ่งที่จะถูกพูดถึงคือการฝากประจำ (Fixed Deposit) เพราะเป็นการเอาเงินไปฝากไว้แล้วได้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าบัญชีเงินฝากประเภทอื่น ไม่มีความเสี่ยง ได้ฝึกนิสัยการออม และทำให้มีวินัยทางการเงิน ซึ่งเพียร์ พาวเวอร์ไม่มีข้อโต้แย้งในแนวคิดดังกล่าว แต่ในอีกมุมหนึ่ง การฝากประจำก็มีความก้ำกึ่งกันระหว่าง การเก็บออม (Saving) กับ การลงทุน (Investment) เพราะมีทั้งลักษณะการเก็บเงินไว้ และการได้ผลกำไรงอกเงย ฝากประจำจึงมีมุมที่น่าพูดถึงหลายอย่าง

ฝากประจำ คือ อะไร ?

การฝากประจำ คือ การเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารใด ธนาคารหนึ่ง โดยมีสัญญาว่า ผู้ฝากจะฝากเงินจำนวนนี้ไว้โดยไม่ถอนเลย ในช่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ ช่วงเวลาอาจเป็น 3 6 12 24 เดือน หรือมากกว่านั้นก็ได้ โดยธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราที่ตกลงกันไว้ ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของเงินฝากออมทรัพย์ โดยอาจมีการจ่ายทุก 6 เดือน 12 เดือน ตามข้อตกลง ยิ่งฝากเป็นระยะเวลานาน อัตราดอกเบี้ยยิ่งสูง เพราะธนาคารสามารถนำเงินก้อนนี้ไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า แต่ถ้าผู้ฝากถอนเงินก่อนครบสัญญาที่ตกลงกันไว้ ธนาคารมีสิทธิ์จะไม่ให้ดอกเบี้ย หรือให้ดอกเบี้ยในอัตราที่เท่ากับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ก็ได้ แล้วแต่เงื่อนไข และถ้าเป็นการฝากประจำแบบทั่วไป (General Fixed Deposit) จะต้องเสียภาษี 15% จากดอกเบี้ย

บัญชีเงินฝากประจำมีกี่แบบ อะไรบ้าง ?

บัญชีเงินฝากประจำสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

บัญชีเงินฝากประจำ แบบทั่วไป (General Fixed Deposit)

คือ การฝากเงินก้อนไปในธนาคารเป็นครั้ง ๆ โดยมีสัญญาว่าจะไม่ถอนเลยในระยะเวลาหนึ่ง บัญชีฝากประจำแบบทั่วไปจะฝากกี่ครั้งก็ได้ ครั้งละเท่าไหร่ก็ได้ โดยต้องฝากเป็นเงินก้อนใหญ่ ๆ และเงินแต่ละก้อนจะนับช่วงเวลาแยกกัน  เช่น

  • ฝากเงินครั้งแรกเดือนมกราคม 200,000 บาท
  • ฝากเงินครั้งที่สอง เดือนมีนาคม 500,000 บาท

สมมติเป็นบัญชีที่จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือนวิธีนับอายุเงินฝาก และดอกเบี้ยกรณีที่ไม่ถอนก่อนครบสัญญา คือเงินฝากครั้งแรกจะได้ดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมิถุนายน โดยคิดดอกเบี้ยจากเงิน 200,000 บาท และจะได้ดอกเบี้ยจากการฝากครั้งที่สองในเดือนกันยายน โดยคิดดอกเบี้ยจากเงิน 500,000 บาทและบัญชีเงินฝากประจำประเภทนี้มีการหักภาษีจากดอกเบี้ย 15% ซึ่งหนึ่งคนสามารถเปิดได้หลายบัญชี

บัญชีเงินฝากประจำ แบบปลอดภาษี (Tax Free Monthly Deposit)

เป็นการฝากประจำที่สัญญาว่าจะฝากเงินจำนวนเท่า ๆ กันทุกเดือนในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่ถอน และไม่ผิดสัญญา คือไม่มีการเว้นเดือน หรือ ไม่นำเงินเข้าบัญชีตามกำหนดเวลา (บางธนาคารอาจจะเว้นได้ 1 เดือน แต่เดือนต่อมาฝากX 2 แล้วแต่เงื่อนไข) โดยมักเริ่มต้นที่ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทซึ่งบัญชีประเภทนี้เป็นบัญชีประเภท 1 คน 1 บัญชี และเป็นบัญชีได้รับการยกเว้นภาษี

ฝากประจำแบบทั่วไปกับฝากประจำแบบปลอดภาษีต่างกันยังไง

ฝากประจำแล้วได้อะไร ?

สิ่งจูงใจที่ทำให้คนอยากฝากประจำ คือ อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ ซึ่งบัญชีออมทรัพย์อาจให้ผลตอบแทนประมาณ 0.2% ต่อปี ในขณะที่บัญชีเงินฝากประจำให้ผลตอบแทนได้ระหว่าง 0.4 - 3% ต่อปีแล้วแต่เงื่อนไขและระยะเวลาในการฝากประจำของธนาคารนั้น ๆ แต่ใช่ว่าฝากครบตามกำหนดแล้วอัตราดอกเบี้ยจะได้ตามนั้นเสมอไป เพราะตามที่เพียร์ พาวเวอร์ได้บอกไปตั้งแต่ต้นว่า มีการเสียภาษี 15% และถ้ามีการถอนก่อนกำหนดขึ้นมาการคิดดอกเบี้ยของธนาคาร จะคิดอัตราดอกเบี้ยให้เป็นวัน

ฝากประจำคำนวณดอกเบี้ยยังไง ?

ดอกเบี้ยเงินฝากประจำจะเป็นดอกเบี้ยแบบขั้นบันได คือ ยิ่งฝากนาน ดอกเบี้ยยิ่งสูง โดยมีวิธีคำนวนณดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ดังนี้

จำนวนเงินที่ฝาก x ดอกเบี้ย(%)) /365 วัน X จำนวนวันที่ฝาก - ภาษี 15%จากดอกเบี้ยทั้งหมด = ดอกเบี้ยที่จะได้รับ

ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างซับซ้อน เพียร์ พาวเวอร์จึงมองหาโปรแกรมคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากมาให้ใช้ เพราะน่าจะง่ายและช่วยประหยัดเวลามากกว่าคำนวณเอง

ฝากประจำแบบ 12 เดือน หรือ 1 ปีที่ไหน ได้ดอกเบี้ยสูงที่สุด

เมื่อดอกเบี้ยเป็นแรงจูงใจสำคัญในการเลือกบัญชีเงินฝากประจำ เรามาลองดูกันว่า ระยะเวลา 12 เดือน ธนาคารไหนให้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำมากที่สุด (ขอบคุณข้อมูลจาก Checkraka.com : อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ เดือนมกราคม 2564)

ธนาคาร

ชื่อบัญชีเงินฝาก

เปิดบัญชี (บาท)ดอกเบี้ย(%ต่อปี)

รายละเอียด

เครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ใบรับฝากเงิน (Deposit Receipt)500,0003.000คลิกเครดิตฟองซิเอร์ เอสเมใบรับฝากเงิน (Deposit Receipt)100,0003.000คลิกเครดิตฟองซิเอร์เวิลด์ใบรับฝากเงิน (Deposit Receipt)100,0002.750คลิกไทยเครดิต  บัญชีเงินฝากประจำ ประเภทสมุดคู่ฝาก1,0001.900คลิกศรีสวัสดิ์ ใบรับฝากเงินแบบมีกำหนดเวลา10,000,0001.600คลิกแอดวานซ์บัญชีเงินฝากประจำทั่วไป10,0001.500คลิกไทยเครดิต  บัญชีเงินฝากประจำ ประเภทสมุดคู่ฝาก1,0001.500คลิกซีไอเอ็มบี ไทยบัญชีเงินฝากประจำซีเนียร์ (Senior)1,00001.500คลิกซิตี้แบงก์บัญชีเงินฝากประจำอีลีท1,000,0001.500คลิก

ฝากประจำมีข้อดี - ข้อเสียอย่างไร

ก่อนจะไปถึงคำถามว่าการฝากประจำคุ้มค่า หรือไม่ ลองมาดูข้อดี - ข้อเสียของการฝากประจำ เพื่อประกอบการตัดสินใจ

ข้อดีของการฝากประจำ

  • เหมาะกับคนที่ต้องการมีเงินเก็บ และไม่คาดหวังผลตอบแทนจำนวนมาก โดยการฝากประจำแบบฝากทุกเดือน จะช่วยสร้างวินัยทางการเงินได้ดี
  • ความเสี่ยงต่ำ เพราะไม่ได้เอาเงินไปทำอะไร แค่ฝากไว้เฉย ๆ ในธนาคาร
  • เพิ่มเครดิตทางการเงิน ทำให้การขอสินเชื่อได้รับการอนุมัติง่ายขึ้น เป็นแหล่งเงินทุนสำรอง

ข้อเสียของการฝากประจำ

  • ถ้าเป็นบัญชีฝากประจำทั่วไป มีการเสียภาษีจากดอกเบี้ย 15%
  • ถอนก่อนกำหนดไม่ได้ดอกเบี้ย หรือ ได้ดอกเบี้ยต่ำมาก
  • บัญชีแบบฝากประจำทั่วไปจำนวนเงินฝากเริ่มต้นค่อนข้างสูง ผลตอบแทนจึงจะคุ้มค่า
  • ผลตอบแทนต่ำสุดในบรรดาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
  • เสียโอกาสในการลงทุนอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าในระยะเวลาที่เท่ากัน

จากทั้งหมดที่กล่าวมา หลายคนคงพอจะมีคำตอบในใจแล้วว่าการฝากประจำคือการลงทุนที่คุ้มค่าหรือเหมาะกับตัวเราหรือไม่ โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่การลงทุนมีตัวเลือกมากมาย และให้ผลตอบแทนต่างกันตามระดับความเสี่ยงการลงทุนที่เสี่ยงน้อยที่สุดอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะกับเป้าหมายที่เราตั้งไว้ก็ได้ เพราะการลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน แม้แต่ลงทุนกับหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงของ เพียร์ พาวเวอร์ก็ไม่เว้น และความเสี่ยงสูงกว่าก็ให้ผลตอบแทนที่มากกว่า ซึ่งถ้าชั่งน้ำหนักแล้วเห็นว่าเป็นแนวทางที่สอดคล้อง กับการลงทุนของคุณ สามารถลองมาสอบถามละเอียดเพิ่มเติมได้เลย

_______________________________________________________________________

คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร