rusbankinfo.ruถ้าพูดถึง "Cloud Technology" หรือ "ธุรกิจ SaaS (Software-as-a-service)" หลาย ๆ คนอาจนึกไม่ออกว่า ธุรกิจ หรือเทคโนโลยีดังกล่าว เกี่ยวกับอะไร ทำอะไรได้บ้าง แต่ถ้าพูดถึง Google Drive, Netflix, Grab, โปรแกรม Photoshop, Dropbox อาจทำให้หลาย ๆ คนเห็นภาพกันมากยิ่งขึ้น และต้องยอมรับว่าสถานการณ์ โควิด-19 เป็นปัจจัยเร่งให้คนหันมาปรับตัวกับเทคโนโลยี และหันมาใช้งานแพลตฟอร์มเหล่านี้กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเพื่อในชีวิตประจำวัน หรือ ภายในองค์กรเองก็ตาม วันนี้ ทางเพียร์ พาวเวอร์ จะมาสรุปภาพรวมของอุตสาหกรรมบริการดังกล่าว รวมถึงปัจจัยในการเติบโต ให้ทุกท่านได้ทราบกันครับ
‘Modern Services’ เป็นตัวแปรสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอลประเทศไทย
การที่เทคโนโลยีที่ยังคงพัฒนาอย่างก้าวกระโดดนั้น ได้เข้ามาปลดล็อกความสะดวกสบายในการจับจ่ายใช้สอย และเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของผู้คน อุตสาหกรรมภาคการบริการแบบทันสมัย (Modern Services) จึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เห็นได้จากสัดส่วนส่วนของกิจกรรมภาคบริการต่อ GDP ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ได้ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจโลกที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากการพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิต ไปสู่ภาคบริการสมัยใหม่ (Modern Services) มากขึ้น โดยที่สัดส่วนของกิจกรรมภาคบริการโดยรวมต่อ GDP ของประเทศไทยเองก็เพิ่มขึ้นจาก 55% ในปี 2010 มาเป็น 63% ในปี 2019 ซึ่งเป็นสัดส่วนของ Modern Services ต่อ GDP อยู่ที่ 14%
อย่างไรก็ตามการปรับทิศทางสู่ Modern Services ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็นบริการด้าน 5G technology, Internet of Things (IOT), Artificial Intelligence (AI), Block Chain รวมถึง Cloud Services นั้นจะเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศท่ามกลางกระแส Digital Transformation ของโลก
การใช้บริการ Cloud Technology มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในภาคธุรกิจที่มีนโยบาย Work From Home
เป็นที่รู้กันว่าที่ผ่านมานั้น Cloud Technology ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น และสำคัญต่อโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศต่อองค์กรที่หลากหลาย ด้วยประโยชน์ทางด้านการช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจ ในขณะที่การเกิดขึ้นของสถานการณ์ของโลกระบาดโควิด-19 ได้ส่งผลให้ปัญหาด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่สามารถมองข้ามได้ ภาวะเช่นนี้จึงเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยเร่งให้องค์กรต่าง ๆ หันมาสนใจ และมีการปรับใช้ Cloud Infrastructure กันมากขึ้น อาทิ SaaS (ย่อมาจาก Software-as-a-Service) หนึ่งในประเภทของ Cloud ที่ได้เข้ามาช่วยเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานแบบ Work from home เช่น เพื่อการประชุมทางออนไลน์อย่าง Zoom หรือ Microsoft Team หรือ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) อย่าง Amazon Web Services โดยในภูมิภาค Asia-Pacific (เอเชียแปซิฟิก) เองนั้นคาดว่าจะมีสัดส่วนขององค์กรที่มีการใช้งานด้าน Cloud Services เพิ่มขึ้นเป็น 60% ภายในปลายปีนี้ และมีสัดส่วนของงบประมาณด้าน IT ขององค์กรที่จัดสรรไปกับการใช้จ่ายด้าน Cloud Computing ถึง 28%
Percentage of organization’s IT infrastructure that will be entirely cloud-basedสัดส่วนองค์กรที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีทั้งหมดบนระบบคลาวด์
source: Datapipe, Forbes
ผู้ประกอบการในประเทศไทยให้ความสำคัญต่อ Digital Transformation และมีแผนการลงทุนในโครงสร้างเทคโนโลยีองค์กร
ผู้ประกอบการในประเทศไทยมีแนวโน้มในการลงทุนระบบคลาวด์เพิ่มขึ้น หลังโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ โดยส่วนใหญ่เริ่มมองว่าการลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าว เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรที่จำเป็นต่อการปรับตัวในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าการลงทุน Public Cloud ของผู้ประกอบการในไทยจะเพิ่มขึ้นต่อปีที่ 30% อย่างต่อเนื่อง 2020-2022 ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 34 พันล้านบาท มากกว่าค่าเฉลี่ยของการเติบโตต่อปีทั่วโลกอยู่ที่ 21%อ้างอิงจาก Deloitte Analysis ผ่านแบบสอบความเห็นมุมมองผู้ประกอบการต่อ Digital Transformation ในปี 2019 ซึ่งได้จำแนกองค์กรตามความตื่นตัวทางดิจิตอลออกเป็น 5 ประเภท ประกอบด้วย:
- กลุ่ม Digital Laggard - เป็นกลุ่มที่ปรับตัวช้าที่สุด หรือยังไม่มีแผนจะปรับตัวเลย ซึ่งประเทศไทยมีภาคธุรกิจในกลุ่มนี้อยู่ราว 5% ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 9%
- กลุ่ม Digital Follower - เป็นกลุ่มที่เริ่มมีการวางแผน – ลงทุนเพื่ออนาคตที่ต้องอยู่บนดิจิทัลบ้างแล้ว โดยประเทศไทยมีธุรกิจกลุ่มนี้ 10% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 33%
- กลุ่ม Digital Evaluator - เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการวางแผน ลงทุน และปรับตัวอย่างจริงจัง ซึ่งประเทศไทยมีภาคธุรกิจในกลุ่มนี้อยู่ถึง 59% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 33%
- กลุ่ม Digital Adopter - เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการวางแผนการลงทุน – ทรานสฟอร์มตัวเองที่ชัดเจน ซึ่งประเทศไทยมีภาคธุรกิจในกลุ่มนี้อยู่ที่ 22% ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของโลกที่ 23%
- กลุ่ม Digital Leader - เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีดิจิทัลอยู่ในสายเลือดไปแล้วเรียบร้อย (อาจเรียกธุรกิจกลุ่มนี้ว่าทรานสฟอร์มตัวเองสำเร็จแล้วก็ได้) โดยระดับโลกกับประเทศไทยถือว่าไม่ทิ้งห่างกันมากโดยมีสัดส่วนอยู่ 3% ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของโลกเพียง 2% เท่านั้น
ข้อมูลข้างต้นนั้นได้ชี้เห็นว่าผู้ประกอบการประเทศไทยนั้นค่อนข้างเปิดรับต่อแนวทางการปรับตัวองค์กรทางดิจิตอล โดยมีกลุ่มผู้ประกอบการจำนวนมากที่ถูกจัดอยู่ในหมวด 'Digital Evaluator' หรือ กลุ่มธุรกิจที่มีการวางแผน ลงทุน และปรับตัวอย่างจริงจัง ซึ่งทางเราคาดว่าในปัจจุบันนี้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ในประเทศไทยนั้นได้เริ่มขยับเข้ามาสู่การเป็น 'Digital Adopter' หรือ กลุ่มธุรกิจที่มีการวางแผนการลงทุน – ทรานส์ฟอร์มตัวเองที่ชัดเจนเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งแสดงในเห็นถึงเทรนการเติบโตที่ชัดเจนของกลุ่มเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Digital Transformationเห็นได้ว่ามีหลากหลายปัจจัยที่ช่วยผลักดันให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวเติบโตมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะในแง่ของปัจจัยเชิงพฤติกรรม ที่ผู้คนเริ่มคุ้นเคยต่อการใช้งาน Cloud Service (เช่น Netflix, Dropbox) ปัจจัยเร่งจากสถานการณ์ โควิด-19 ที่ทำให้องค์กรต้องปรับตัวกับการทำงานแบบระยะไกล หรือแม้แต่การผลักดันทางด้านเศรษฐกิจดิจิตอลจากภาครัฐ อย่าง e-Tax Invoice อย่างไรก็ตาม กลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย ทั้งในเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นในผู้ใช้งาน การจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Privacy policy) หรือแม้แต่ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)ดังนั้น ก่อนที่จะลงทุนในสินทรัพย์ หรืออุตสาหกรรมใด เราจึงควรให้ความสำคัญ กับภาพรวม ทิศทางในการดำเนินธุรกิจ รวมถึง โอกาสและความท้าทายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งสำหรับธุรกิจที่ระดมทุนอยู่บนแพลตฟอร์มเพียร์ พาวเวอร์นั้น เราได้รวบรวมข้อมูลดังกล่าวไว้ในหนังสือชี้ชวน (Prospectus) เพื่อให้ง่ายแก่นักลงทุนบนแพลตฟอร์มในการศึกษา และตัดสินใจลงทุนนั่นเอง