ผลกระทบ "สงครามการค้าสหรัฐ-จีน" SME ต้องรู้

by
September 13, 2018

ผลกระทบ "สงครามการค้าสหรัฐ-จีน" SME ต้องรู้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคโลกาภิวัฒน์ เศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจย่อมส่งผลกับเศรษฐกิจในประเทศอื่นๆ ที่พึ่งพาอาศัยประเทศมหาอำนาจด้วยกันการประกาศเก็บภาษีศุลกากรสินค้าส่งออกของจีน 25% เป็นการเปิดฉากสงครามการค้าของประวัติศาสตร์โลก ประเทศไทยที่ส่งออกสินค้าไปจีนและสหรัฐฯ จำนวนมากย่อมได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้

สงครามการค้าสหรัฐ-จีน (US-China Trade War) คืออะไร

The Momentum ได้สรุปไว้ว่า ทรัมป์กล่าวหาว่าจีนฉกฉวยเทคโนโลยีของเอกชนอเมริกันเอาไปต่อยอด เพื่อก้าวขึ้นเป็นหมายเลขหนึ่งของโลกในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า อเมริกากำลังหวาดระแวงจีน ไม่เฉพาะแต่ด้านการค้า หากยังรวมถึงมิติของการลงทุนด้วย เนื่องจากในระยะหลัง ปักกิ่งใช้วิสาหกิจของรัฐบาลเป็นกองหน้าเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ ใช้เงินของรัฐซื้อเทคโนโลยีอเมริกัน แม้มีราคาสูงลิบลิ่วในแบบที่เอกชนจีนไม่อาจซื้อได้สหรัฐจึงเรียกเก็บภาษีนำเข้า 1,102 รายการ จากจีนถึง 25% ในสินค้าจำพวกเครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฮ-เทคประเภทต่างๆ เช่น ยานยนต์ ฮาร์ดไดรฟ์คอมพิวเตอร์ และแอลอีดี ส่วนจีนตอบโต้ด้วยมาตรการเดียวกัน โดยเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ 128 รายการ ถึง 25% ในสินค้าจำพวกยานยนต์ และผลผลิตทางการเกษตร การเก็บภาษีนำเข้าสินค้า

ผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐ-จีนต่อไทยมีอะไรบ้าง?

กระทรวงพาณิชย์ของไทยยอมรับว่าไทยเริ่มได้รับผลกระทบจาก "สงครามการค้าสหรัฐ-จีน" แล้ว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องซักผ้าและแผงโซลาร์เซลล์ นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีผลกระทบในส่วนอื่นๆ ด้วย เช่น ค่าเงินบาทไทยที่เริ่มอ่อนตัวลง ส่งผลต่อดัชนีตลาดหุ้นไทยไทยทำการค้าทั้งกับสหรัฐและจีน ซึ่งหากมองถึงสินค้าของไทยที่ส่งออกในภาพรวมแล้วไทยจะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้านี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะประเภทของสินค้าที่ปรับภาษีขึ้นนั้นมีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับการส่งออกโดยรวมของประเทศไทยฉะนั้นแล้วผู้ประกอบการ SME ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกอาจจะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงเพียงเล็กน้อย แต่ก็ไม่ควรจะประมาทและควรจะวางแผนเพื่อรองรับกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นเผื่อได้ด้วยเช่นกัน

  • สำหรับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจ อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนรถยนต์ อาจจะมีช่องทางในการส่งออกไปยังสหรัฐมากขึ้น เนื่องจากการกีดกันการค้าทำให้สินค้าจีนไม่สามารถส่งไปขายที่สหรัฐได้ในปริมาณเท่าเดิม แต่สำหรับผู้ประกอบการที่ส่งออกไปยังประเทศจีนอาจจะได้รับผลกระทบที่เป็นผลพ่วงจากการกีดกันของสหรัฐ
  • สำหรับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจส่งออกสินค้า ประเภท มะพร้าว ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ และ มะม่วง จะมีโอกาสในการเข้าไปแทนที่สินค้าสหรัฐในตลาดจีนมากขึ้น
  • นอกจากนี้ผู้ประกอบการไทยยังได้รับผลกระทบเชิงบวกจากนโยบายลดภาษีการนำเข้าสินค้าประเภท อาหารแปรรูป อาหารทะเล เสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องสำอางจากประเทศจีน

ผู้ประกอบการควรรับมืออย่างไรกับสถานการณ์นี้?

1. เพิ่มช่องทางนำเข้าวัตถุดิบ

หากกิจการของคุณมีการนำเข้าสินค้าหรืออะไหล่จากประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐครั้งนี้ คุณควรจะศึกษาหาช่องทางการนำเข้าวัตถุดิบในเขตประเทศอื่นๆ ว่ามีผู้ผลิตไหนที่สามารถส่งสินค้าที่มีคุณภาพเดียวกันหรือใกล้เคียงกับที่คุณต้องการได้หรือไม่ และควรต้องศึกษาเรื่องมาตรการภาษีของประเทศนั้นเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ธุรกิจของคุณสามารถดำเนินต่อไปได้แม้ว่าจะเกิดสงครามการค้าหรือปัญหาอื่นๆ คุณก็พร้อมที่จะรับมือกับทุกสถานการณ์ได้

2. ขยายฐานลูกค้าเดิม และเร่งเจาะตลาดใหม่

ฐานลูกค้าเดิมที่คุณเคยมีอยู่ก็เป็นสิ่งที่คุณควรจะรักษาความสัมพันธ์ไว้ หรืออาจจะเป็นโอกาสอันดีในการเพิ่มยอดขายหรือขยายธุรกิจของคุณจากฐานลูกค้าเดิมก็เป็นได้ และนอกจากนี้คุณยังควรเร่งเจาะตลาดใหม่ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น หากคำสั่งซื้อหรือยอดขายของคุณต้องลดลงเนื่องจากต้นทุนภาษีที่สูงขึ้น

3. เตรียมแผนการเงินสำรองสำหรับกิจการ

ไม่ว่าประเทศไทยหรือธุรกิจของคุณจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด ควรจะวางแผนให้ธุรกิจของคุณมีความยืดหยุ่นอยู่ตลอด ซึ่งปัจจัยสำคัญนั้นก็คงจะหนีไม่พ้นเงินทุนสำรองและกระแสเงินสดหมุนเวียนของกิจการ เพื่อกิจการของคุณเตรียมพร้อมกับกระทบจากวิกฤตครั้งนี้ได้ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ทางที่ดีสำหรับสถานณการณ์แบบนี้แล้วควรเลือกสินเชื่อที่อนุมัติเร็วให้ดอกเบี้ยต่ำและสามารถยืดหยุ่นได้น่าจะเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจตอนนี้มากกว่าสำหรับเจ้าของกิจการที่กำลังมองหาสินเชื่อ ลองศึกษาสินเชื่อประเภทต่างๆ ดู ซึ่งเพียร์ พาวเวอร์เคยเขียนบทความเรื่องประเภทสินเชื่อให้ทุกท่านได้ศึกษาค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับผลกระทบของสงครามการค้าของสหรัฐ-จีน และวิธีการรับมือของธุรกิจ SME ที่ PeerPower รวบรวมมาในวันนี้ สำหรับกิจการที่ต้องการพลิกวิกฤตินี้ให้เป็นโอกาส โดยการขยายฐานลูกค้าเพิ่ม และมองหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม สามารถสมัครออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงและตรวจสอบคุณสมบัติกับเพียร์ พาวเวอร์ได้ที่ภาพด้านล่างค่ะ

_______________________________________________________________________

คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร