Peer Story

ขายฝาก จำนอง และหุ้นกู้ Mortgage Bond ต่างกันอย่างไร? เปรียบเทียบอย่างละเอียด

by
PeerPower Team
November 4, 2022
  • ขายฝาก คือ การที่ลูกหนี้นำสินทรัพย์ไปขายและโอนกรรมสิทธิ์แก่เจ้าหนี้ ซึ่งลูกหนี้จะได้สินทรัพย์และกรรมสิทธิ์คืนเมื่อไถ่ถอนได้ครบตามสัญญา วงเงินโดยสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 70% ของราคาประเมิน
  • จำนอง คือ การที่ลูกหนี้เอาสินทรัพย์ไปค้ำประกัน แต่ไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้กับเจ้าหนี้ วงเงินโดยเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 30% ของราคาประเมิน
  • หุ้นกู้ Mortgage Bond คือ หุ้นกู้ที่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน มีลักษณะคล้ายการจำนองตรงที่ผู้ประกอบการไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ และได้วงเงินโดยเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 70% ของราคาประเมิน

ขายฝาก จำนอง และหุ้นกู้ Mortgage Bond ต่างกันอย่างไร? เปรียบเทียบอย่างละเอียด

เมื่อต้องการเงิน หลายคนมักนึกถึงการนำสินทรัพย์ไปค้ำประกันในแบบต่าง ๆ ทั้งขายฝาก จำนอง หรือจำนำ ฯลฯ แต่ละประเภทนั้นมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งหากเลือกประเภทที่ไม่เหมาะกับธุรกิจ จำนวนเงินที่ได้ก็อาจจะไม่มากอย่างที่หวังและอาจเสียประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีอยู่ได้ ดังนั้นในบทความนี้ PeerPower จะอธิบายว่า "ขายฝาก" และ "จำนอง" ต่างกันอย่างไรเทียบกับ "หุ้นกู้ Mortgage Bond" แล้วอย่างไหนดีกว่า? และควรเลือกแบบไหนเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบการ 

ขายฝากคืออะไร? 

ขายฝาก จำนอง และหุ้นกู้ Mortgage Bond ต่างกันอย่างไร? เปรียบเทียบอย่างละเอียด

ขายฝาก คือ การที่ลูกหนี้นำทรัพย์สินไป “ขาย” ให้กับเจ้าหนี้ โดยที่ลูกหนี้ต้องส่งมอบกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ทันที ซึ่งหากลูกหนี้สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินได้ทันตามเวลาที่กำหนดกรรมสิทธิ์ที่เคยส่งมอบก็จะเป็นของลูกหนี้ตามเดิม แต่หากลูกหนี้ไม่สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินได้ทัน กรรมสิทธิ์นั้นจะตกเป็นของเจ้าหนี้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ทั้งนี้หากลูกหนี้เห็นว่าไม่สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินได้ทันตามสัญญาก็สามารถขอต่อสัญญากับเจ้าหนี้ได้ แต่สิทธิในการตัดสินใจก็เป็นของเจ้าหนี้ด้วยเช่นเดียวกัน 

ตัวอย่างเช่น มานะนำที่ดินไปขายฝากให้แก่ชูใจแลกกับเงิน 6 ล้านบาท โดยมีข้อตกลงว่าต้องจ่ายเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนให้ครบภายในเวลา 10 ปีไม่อย่างนั้นมานะจะไม่สิทธิ์ซื้อที่ดินกลับคืน ระหว่าง 10 ปีนี้ที่ดินตกเป็นของชูใจ แต่เมื่อเวลาผ่านมาไปมานะนำเงินมาไถ่ถอนตามกำหนด ชูใจจึงต้องคืนที่ดินให้ตามสัญญา แต่หากมานะไม่สามารถหาเงินมาใช้หนี้คืนได้ทันกำหนด ชูใจก็ได้ครอบครองที่ดินของมานะไปโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องมีการฟ้องคดีใด ๆ

รายละเอียดโดยทั่วไปของการขายฝาก 

ระยะเวลา: สำหรับอสังหาริมทรัพย์จะมีระยะไถ่ถอนทรัพย์สินอยู่ที่ 10 ปี 

วงเงิน: 40-70% ของราคาประเมิน (ขึ้นอยู่กับผู้รับขายฝาก) 

ค่าใช้จ่าย: 

  1. ค่าธรรมเนียมการโอน 2% 
  2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 1%
  3. ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% (อย่างใดอย่างหนึ่ง) 

ข้อดี vs ข้อเสียของการขายฝาก

ข้อดี: วงเงินสูง 

ข้อเสีย: เสียกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับเจ้าหนี้ 

จำนองคืออะไร?

ขายฝาก จำนอง และหุ้นกู้ Mortgage Bond ต่างกันอย่างไร? เปรียบเทียบอย่างละเอียด

จำนอง คือ การที่ลูกหนี้นำทรัพย์สินไป “ค้ำประกัน” กับเจ้าหนี้ โดยที่กรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินจะเป็นของลูกหนี้ตามเดิม แต่ทั้งนี้ลูกหนี้ต้องชำระเงินคืนตามกำหนด ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้ต้องฟ้องขอกรรมสิทธิ์เพื่อนำทรัพย์สินมาจัดการต่อ หรือหากลูกหนี้ขาดชำระหนี้เกิน 5 ปี เจ้าหนี้สามารถฟ้องขอกรรมสิทธิ์และนำทรัพย์สินมาขายทอดตลาดได้เช่นกัน การจำนองสามารถทำได้ทั้งกับธนาคารในรูปแบบการขอสินเชื่อ หรือหากขอกับธนาคารไม่ผ่าน จะจำนองกับเอกชนก็ได้เช่นกัน

ตัวอย่างเช่น ปิตินำบ้านและที่ดินไปจำนองกับมานีเพื่อแลกกับเงิน 6 ล้านบาทมีกำหนดจ่ายหนี้เป็นระยะ โดยในระหว่างที่จำนองปิติสามารถอาศัยอยู่หรือทำกิจการในที่ดินได้ตามปกติ เมื่อเวลาผ่านไปปิติผ่อนจ่ายหนี้ได้ครบ สัญญาจำนองจึงสิ้นสุดลง แต่หากปิติไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนด มานีจะต้องยื่นฟ้องร้องเพื่อขอยึดบ้านและที่ดินของปิติต่อไป

รายละเอียดโดยทั่วไปของการจำนอง 

ระยะเวลา : ไม่มีระยะเวลาไถ่ถอนสินทรัพย์ตายตัว สัญญาจำนองจะเป็นโมฆะเมื่อเจ้าหนี้ได้รับเงินครบตามที่ตกลง
วงเงิน: 10-30% ของราคาประเมิน (ขึ้นอยู่กับผู้รับจำนอง) 

ค่าใช้จ่าย: 

  1. ค่าธรรมเนียมจดคำขอแปลงละ 5 บาท
  2. ค่าจดจำนอง 1% จากวงเงินจำนอง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท 
  3. ค่าอากรแสตมป์ ตามวงเงินจำนอง
  4. ค่าธรรมเนียมไถ่ถอนของกรมที่ดิน โฉนดละ 75 บา

ข้อดี vs ข้อเสียของการจำนอง

ข้อดี: ไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ 

ข้อเสีย: วงเงินน้อยกว่า 

แต่นอกจากการขายฝากและจำนองทั่วไปแล้ว ยังมีอีกหนึ่งทางเลือกที่เจ้าของกิจการสามารถหาเงินทุนได้จากหลักทรัพย์ที่มีอยู่ นั่นคือการออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding Bond) ประเภท Mortgage Bond กับ PeerPower 

หุ้นกู้ Mortgage Bond ทางเลือกใหม่เพื่อเงินทุนสำหรับธุรกิจ

ขายฝาก จำนอง และหุ้นกู้ Mortgage Bond ต่างกันอย่างไร? เปรียบเทียบอย่างละเอียด

หุ้นกู้ Mortgage Bond (หุ้นกู้ใช้หลักทรัพย์เป็นหลักประกัน) คืออะไร? 

หุ้นกู้ Mortgage Bond คือ หุ้นกู้ที่ใช้หลักทรัพย์เป็นหลักค้ำประกัน มีลักษณะคล้ายการนำที่ดินไปจำนอง แต่ผู้ประกอบการจะได้วงเงินสูงกว่า และไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์หลักทรัพย์ให้ PeerPower ดังนั้นจึงสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินหรือหลักทรัพย์ได้ตามเดิม 

นอกจากนั้นหุ้นกู้ Mortgage Bond ของ PeerPower ยังมีอัตราดอกเบี้ยคงที่อยู่ที่ 6-10% ต่อปี ซึ่งนอกจากดอกเบี้ยจะต่ำกว่าหุ้นกู้ทั่วไปแล้ว อัตราดอกเบี้ยคงที่ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถประเมินค่าใช้จ่ายในอนาคตได้อย่างมั่นใจโดยไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ย

(อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหุ้นกู้ Mortgage Bond ได้ที่นี่

รายละเอียดโดยทั่วไปของหุ้นกู้ Mortgage Bond 

ระยะเวลา: สูงสุด 3 ปี

วงเงิน: สูงสุด 70% ของราคาประเมิน 

ค่าใช้จ่าย: เก็บค่าธรรมเนียมเมื่อระดมทุนสำเร็จเท่านั้น (All-in-fees) และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งต่ำสุดเฉลี่ยเพียง 3.2% ของวงเงินหุ้นกู้ 100 ล้านบาท

ข้อดี vs ข้อเสียของหุ้นกู้ Mortgage Bond 

ข้อดี: วงเงินสูงและไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์หลักทรัพย์ ไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝงจุกจิก พร้อมดอกเบี้ยคงที่ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการเงินของธุรกิจได้อย่างมั่นใจ

ข้อเสีย: ระยะเวลาผ่อนชำระน้อยกว่า

สรุปเปรียบเทียบระหว่าง ขายฝาก vs จำนอง vs หุ้นกู้ Mortgage Bond 

ขายฝาก จำนอง หุ้นกู้ Mortgage Bond ของ PeerPower
วงเงินสูงสุดทั่วไป 70% 30% 70%
ผู้กู้มีกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ ไม่มี มี มี
ระยะเวลาการไถ่ถอน สูงสุด 10 ปี ไม่มีระยะเวลาตายตัว สูงสุด 3 ปี
ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมการโอน ภาษีเงินได้หัก ณ​ ที่จ่าย ค่าอากรแสตมป์หรือค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าธรรมเนียมธนาคารหรือผู้รับจำนอง ค่าธรรมเนียมจดคำขอ ค่าจดจำนอง ค่าอากรแสตมป์ ค่าไถ่ถอนโฉนด ค่าธรรมเนียมรวดเดียวจบ (เรียกเก็บเมื่อระดมทุนสำเร็จเท่านั้น)
ข้อดี วงเงินสูง ไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ วงเงินสูง ไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ ดอกเบี้ยคงที่
ข้อเสีย ต้องโอนกรรมสิทธิ์ วงเงินน้อย เวลาผ่อนชำระน้อยกว่า

จากตารางจะเห็นว่าแต่ละช่องทางนั้นมีลักษณะแตกต่างกัน ซึ่งผู้ประกอบการควรศึกษาข้อดีและข้อเสียและเลือกในสิ่งที่เหมาะกับธุรกิจของเราที่สุด ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ Morgage Bond ของ PeerPower เพิ่มเติมได้ที่นี่ หรือหากท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถนัดขอคำปรึกษากับ PeerPower ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย คลิก

PeerPower คือ แพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิง (crowdfunding) ที่จัดหาแหล่งทุนให้กับธุรกิจที่มีศักยภาพ และยังได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ดังนั้นจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุนและกระจายความเสี่ยงที่นักลงทุนให้ความไว้วางใจ

Tags
No items found.
Author
PeerPower Team

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร