Perspectives

สรุปภาพรวมตลาด Market Insights ไตรมาสแรก ปี 2021

by
May 7, 2021

สรุปภาพรวมตลาด Market Insights ไตรมาสแรก ปี 2021

ผ่านมา 1 ปีแล้วที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ ไวรัส "โควิด-19" จนกระทั่งตอนนี้ ถึงแม้การแพร่ระบาดยังไม่สิ้นสุดลง แต่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวมากขึ้น และมีความเคลื่อนไหวมากมายในตลาดการเงินในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา วันนี้ เพียร์ พาวเวอร์ ได้รวบรวม Market Insights ของตลาดการเงินทั้งในและต่างประเทศของไตรมาสแรก ให้นักลงทุนได้เห็นภาพรวมตลาด ได้ดียิ่งขึ้นครับ

ราคาสินทรัพย์พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องจากแรงผลักดันของภาครัฐ

  • มาตรการ การกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาจากรัฐบาล ‘ไบเดน’ ดันผลตอบแทน (ระยะ 1 ปี) อย่างดัชนีตลาดหุ้น S&P 500 ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา กว่า 53% สูงสุดนับตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1930 โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและอุตสาหกรรมการเงินเป็นตัวนำ
  • คริปโตเคอเรนซี่ กลุ่มสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมานั้น ยังคงความร้อนแรงไม่หยุดหลังจากที่บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Tesla, PayPal และ JP Morgan เป็นต้น ได้ออกมาให้การยอมรับสินทรัพย์คริปโตเคอเรนซี่ ส่งผลให้ราคา Bitcoin ทะยานทะลุเพดานใหม่เหนือ 6 หมื่นดอลลาร์เป็นครั้งแรก
  • ในขณะเดียวกันนั้นการกลับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเทศต่าง ๆ อาจบ่งชี้ถึงความวิตกกังวลของตลาดต่อสถานการณ์สภาวะเงินเฟ้อที่อาจจะกำลังก่อตัวขึ้น
  • เมื่อคาดการณ์ไปข้างหน้า เรายังคงมองว่าสภาพแวดล้อมอัตราดอกเบี้ยต่ำ และการกระตุ้นทางมาตรการการคลังจากภาครัฐยังคงเป็นปัจจัยหลักในการเกื้อหนุนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิด-19 ได้ผ่านพ้นไป

เศรษฐกิจไทยยังน่าเป็นห่วงหลังการระบาดระลอกใหม่ กระทบธุรกิจหลากหลายภาคส่วน

  • การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศต้องหยุดชะงัก หลังจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ที่ได้กลับมาแพร่ระบาดก่อนช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ซึ่งได้แพร่กระจายไปยังหลายพื้นที่ ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่สะสมในรอบหนึ่งสัปดาห์ของช่วงปลายเดือนมีนาคมมีจำนวนสูงขึ้นกว่าสองพันราย

[caption id="attachment_10061" align="aligncenter" width="1024"]

สรุปภาพรวมตลาด Market Insights ไตรมาส 1 ปี 2021 - PeerPower

source - WHO Report - Thailand; Thailand consumption forecast based on BOT[/caption]

  • การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เชื้อในรอบนี้ ได้ส่งผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อระบบเศรษฐกิจ โดยผลกระทบที่เด่นชัดที่สุดนั้น มาจากผลกระทบต่อกำหนดการเปิดพรมแดนประเทศที่คาดว่าล่าช้าลงไป รวมไปถึงการมาตรการจำกัดการเดินทางภายในประเทศ และการรวมกลุ่มหรือการใช้บริการในที่สาธารณะ โดยเมื่อเทียบเคียงจากดัชนีผู้บริโภคแล้วเราสามารถเห็นได้ว่า กลุ่มอุตสาหกรรมในระบบนิเวศดังกล่าว เช่น การบริการอาหาร และเครื่องดื่ม การโรงแรม และขนส่งมวลชนนั้นเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
  • ในทางตรงกันข้ามกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทสินค้าปัจจัยสี่ ไม่ว่าจะเป็น ประเภทสินค้าไม่คงทน (Non-Durable Goods) เช่น สินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็น และ สาธารณูปโภคในครัวเรือน หรือ สินค้ากึ่งคงทน/สินค้าคงทนไม่ถาวรอย่าง (Semi-Durable Goods) เช่น เสื้อผ้าค้าปลีก และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นหมวดหมู่ที่ได้รับผลกระทบไม่มากนัก
สรุปภาพรวมตลาด Market Insights ไตรมาส 1 ปี 2021 - PeerPower

การเข้าถึงแหล่งเงินทุนทางธุรกิจลงลด 30% จากตัวเลขการออกหุ้นกู้ธนาคารพาณิชย์

  • ยอดตัวเลขหนี้เสียตามประเภทของผู้กู้ยืมเงินธนาคารพาณิชย์ โดยแบ่งเป็นกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้กู้ยืมเงินรายบุคคล ล้วนมีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา โดยกลุ่มลูกค้า SME นั้นยังคงมีฐานหนี้เสีย (NPL) ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่ 6.8% ในขณะที่กลุ่มลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคลนั้นมี NPL ติดลบต่อปีมากที่สุด โดยตัวเลขได้มีการขยับเพิ่มขึ้นจาก 2.7% ในปี 2562 มาอยู่ที่ 3.4% ในปี 2563
  • เมื่อมองภาพ NPL ตามกลุ่มอุตสาหกรรม เราพบว่าหนี้เสียจากภาคการบริโภคส่วนบุคคลนั้น มีสัดส่วนที่มากที่สุดโดยคิดเป็นประมาณ 28% ของยอดการปล่อยสินเชื่อทั้งหมดของ ธนาคารพาณิชย์ โดยมีอัตราการเติบโตของหนี้เสียอยู่ที่ 13%
  • ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังคลุมเครือ และภาพรวมหนี้เสียในระบบที่มีแนวโน้มแย่ลง ทางฝั่งธนาคารพาณิชย์เองก็ได้เพิ่มความรัดกุมในการปล่อยสินเชื่อที่มากขึ้น ส่งผลให้มีจำนวนของหุ้นกู้ธุรกิจออกใหม่โดยรวมลดลง โดยเฉพาะหุ้นกู้ SMEs ที่ลดลงถึง 31% ต่อปีนับจากสิ้นปี 2563

หลีกเลี่ยงการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีปัจจัยเสี่ยง และการกระจุกตัวของกลุ่มสินทรัพย์

  • การลงทุนท่ามกลางสภาวะความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในปัจจุบันนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก แต่เมื่อเราได้วิเคราะห์จากมุมมองทางภาพรวมทิศทางเศรษฐกิจโลก และภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศแล้ว จะเห็นได้ว่า แนวทางการลงทุนที่เราแนะนำนั้น ควรประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ซึ่งก็คือ การกระจายความเสี่ยงของประเภทสินทรัพย์ รวมไปถึงกระจายระดับความเสี่ยงของสินทรัพย์ต่างๆอย่างเหมาะสม และการคัดสรรตัวเลือกลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับปัจจัยหลักทางเศรษฐกิจรวมไปถึงปัจจัยทางสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาการระบาดของโวคิด-19 ที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่

สำหรับธุรกิจที่ระดมทุนบนแพลตฟอร์มของเพียร์ พาวเวอร์นั้น เราคัดสรรธุรกิจจากหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่สามารถเติบโตได้ในสภาวะปัจจุบัน รวมถึงตัวธุรกิจเองก็มีศักยภาพในการปรับตัว และมีผลประกอบการที่ดี เพียร์ พาวเวอร์ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้นักลงทุนทุกคน ได้กระจายความเสี่ยง ด้วยการลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ซึ่งสร้างผลตอบแทนที่จูงใจภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม และจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้พอร์ตการลงทุนของคุณด้วยครับ

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร