The Basics

ตราสารอนุพันธ์ (Derivative) High Risk High Return

by
March 19, 2019

ตราสารอนุพันธ์ อนุพันธ์ หรือตราสารสิทธิ (Derivative) คือ หนึ่งในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด และความเสี่ยงสูงที่สุดด้วยเช่นกัน

อนุพันธ์เป็นการลงทุนในลักษณะทำสัญญาให้สิทธิในการซื้อหรือสิทธิในการขาย “สินค้าอ้างอิง” ในอนาคต

เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในระยะสั้นได้สูงถึง 10 - 15%

การลงทุนในอนุพันธ์ที่ได้รับความนิยมมี 2 แบบคือ แบบ Future กับแบบ Option

เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้มาก เพราะสินค้าอ้างอิงมักเป็นสินค้าที่มีความผันผวนในตลาดมาก

ตราสารอนุพันธ์ (Derivative) High Risk High Return

เพียร์ พาวเวอร์ เคยพูดถึงการลงทุนขั้นพื้นฐานไปแทบจะครบถ้วนแล้วตั้งแต่การลงทุนแบบความเสี่ยงน้อย เช่นฝากประจำ พันธบัตร หรือตราสารหนี้ ไปจนถึงการลงทุนที่เค้าว่ากันว่าเสี่ยงสำหรับมือใหม่ แบบการเล่นหุ้น และสิ่งที่เพียร์ พาวเวอร์จะพูดถึงในวันนี้ ยกระดับความเสี่ยงในการลงทุนมากกว่าหุ้นขึ้นมาอีกขั้น นั่นคือการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ ที่เรียกได้ว่า High Risk, High return ของจริง

ตราสารอนุพันธ์คืออะไร

เป็นการออกสัญญาเพื่อให้สิทธิแก่ผู้ซื้อ สามารถซื้อสินค้าอ้างอิงได้ตามราคาที่ตกลงกัน ณ ปัจจุบันจากผู้ขายได้ในอนาคต ไม่ว่าราคาของสินค้าอ้างอิงนั้นจะเป็นเท่าไหร่ในเวลานั้นก็ตามตราสารอนุพันธ์จึงมีอีกชื่อว่าตราสารสิทธิ ซึ่งผู้ซื้อจะใช้สิทธิในการซื้อหรือไม่ก็ได้ และสินค้านั้นจะมีการส่งมอบจริงหรือไม่ก็ได้ตามแต่ประเภทของอนุพันธ์

ซึ่งตราสารอนุพันธ์ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเอื้อต่อการลงทุนโดยตรง แต่เป็นการช่วยลดความเสี่ยงให้กลุ่มผู้ป้องกันความเสี่ยง (Hedger) ที่ต้องการลดความเสี่ยงต่อราคาของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ตนเองต้องการในอนาคต เช่นกลุ่มธุรกิจที่ซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศที่มีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้อง การซื้อในราคาที่ตนเองจ่ายไหว เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการซื้อ ณ เวลานั้นโดยที่ไม่รู้ว่าจะมีความผันผวนทางตลาดแบบไหนเกิดขึ้นบ้างหรือไม่

แต่เมื่อมีการแลกเปลี่ยนเกิดเป็นตลาด โอกาสในการลงทุนก็เกิดขึ้น จึงมีคนอีก 2 กลุ่มเข้ามาในตลาดตราสารอนุพันธ์ด้วย กลุ่มที่ว่าคือนักเก็งกำไร (Speculator) และนักค้ากำไร (Arbitrageurs) ซึ่งจะลงทุนด้วยวิธีที่แตกต่างกัน

Derivative-ตราสารอนุพันธ์คืออะไร

ตราสารอนุพันธ์มีสินค้าอ้างอิงอะไรบ้าง

ข้อดีของตราสารอนุพันธ์คือต้องมีสินค้าอ้างอิงที่สามารถส่งมอบได้จริงในวันเวลาที่ตกลงกันไว้ หากผู้ซื้อใช้สิทธิในการซื้อตามสัญญา ซึ่งสินค้าอ้างอิงในตราสารอนุพันธ์ แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  • อ้างอิงกับตลาดเงิน
  • อ้างอิงกับตราสารหนี้
  • อ้างอิงกับสินค้าโภคภัณฑ์
  • อ้างอิงกับดัชนีราคาอื่นๆ
  • อ้างอิงกับสินค้าเกษตร

จะเห็นได้ว่า สินค้าอ้างอิงของตราสารอนุพันธ์ คือสินค้าที่มีความผันผวนด้านราคาสูง การมีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สำหรับกลุ่มที่มีการซื้อขายบ่อยครั้งหรือซื้อขายเป็นจำนวนมากๆ จึงช่วยลดความเสี่ยงได้ดี แต่ในขณะเดียวกันสำหรับการลงทุนแล้ว ตลาดตราสารอนุพันธ์คือการเก็งกำไรระยะสั้นๆ ที่มีความเสี่ยงสูง เพราะกลุ่มนักลงทุนต้องการผลตอบแทนคือส่วนต่างของราคาซื้อขาย ไม่ใช่สินค้าอ้างอิง

ตราสารอนุพันธ์มีกี่ประเภท

ที่จริงแล้วตราสารอนุพันธ์แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ

ฟอร์เวิร์ด (Forward)

การนัดซื้อขายล่วงหน้า มีข้อกำหนดในการส่งมอบชัดเจน จึงมีการส่งมอบสินค้าอ้างอิงจริงๆ ให้กัน ตราสารอนุพันธ์แบบ Forward มักทำโดยรัฐบาล ธนาคาร องค์กรขนาดใหญ่ ที่ทำสัญญาขายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากเช่นหุ้น หุ้นกู้ เงินตราต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ในอนาคตที่คาดว่าจะคุ้มค่ากว่าหากเป็นราคาเท่านั้นเท่านี้ในช่วงเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา

สว็อป (Swap)

การตกลงแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดระหว่าง 2 ฝ่ายในอนาคต โดยอ้างอิงจากราคาของสินค้าอ้างอิง ที่เป็นได้ทั้งดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน หรือราคาหุ้น โดยจะมีการตกลงกันว่าฝ่ายหนึ่งจะจ่ายด้วยอัตราคงที่ ในขณะที่อีกฝ่ายจะจ่ายด้วยอัตราลอยตัวตามราคาของสินค้านั้นในช่วงเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา

ฟิวเจอร์ (Future)

การตกลงจะซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในราคาที่ตกลงกันในปัจจุบันตามเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา โดยการซื้อขายตราสารอนุพันธ์แบบฟิวเจอร์ไม่ต้องถือจนครบราคา จะขายก่อนเพื่อยกเลิกฐานะการเป็นผู้ซื้อก็ได้ แต่ถ้าถือจนครบเวลาจะต้องมีการส่งมอบสินค้าอ้างอิงให้กันจริง ๆ ตัวอย่างการซื้อขายตราสารอนุพันธ์แบบฟิวเจอร์เช่น ทองคำ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าการเกษตร

อ็อปชั่น (Option)

เป็นการตกลงกันว่าผู้ซื้อมีสิทธิจะซื้อสินค้าเมื่อครบสัญญา แต่ผู้ซื้อจะใช้สิทธินั้นหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าจะซื้อผู้ขายต้องมีสินค้าอ้างอิงให้ โดยจะมีการระบุไว้ในสัญญาอย่างชัดเจนถึงจำนวนสินค้า ราคา ระยะเวลา และผู้ซื้อจะต้องมีการจ่ายค่าพรีเมี่ยมให้กับผู้ขายด้วย ในปัจจุบันสินค้าประเภท Option มีแค่ SET 50 Indexซึ่ง 2 ประเภทแรกมักเกี่ยวข้องกับผู้ต้องการปกป้องความเสี่ยงมากกว่า สำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับตราสารอนุพันธ์แค่ 2 ประเภทคือแบบฟิวเจอร์ และแบบอ็อปชั่น ซึ่งทั้ง 2 แบบมีวิธีการซื้อขายที่ไม่เหมือนกัน

Derivative-ตราสารอนุพันธ์มีกี่ประเภท

ตราสารอนุพันธ์ กับการซื้อขาย

ตราสารอนุพันธ์มีตลาดในการซื้อขายใน 2 ตลาด คือ

- ตลาดอนุพันธ์ (Derivative Exchange/Organized Exchange)

เป็นตลาดที่มีสำหรับการซื้อขายอนุพันธ์โดยเฉพาะ เป็นตลาดกลางที่มีการแจ้งราคาต่อสาธารณะอย่างเปิดเผย มีช่วงราคาที่ขึ้นลงอย่างชัดเจน และมีการเปิดเผยหลักทรัพย์ที่ใช้ในการซื้อขาย

- การซื้อขายนอกเคาท์เตอร์ (Over the Counter)

เป็นการซื้อขายกันเองในกลุ่มนักลงทุน ราคาขึ้นอยู่กับความพอใจ

ตราสารอนุพันธ์ลงทุนอย่างไร

ตราสารอนุพันธ์ลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (บลจ.) ซึ่งขั้นตอนการลงทุนมีดังต่อไปนี้

  1. เปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์
  2. วางหลักประกัน ซึ่งการลงทุนในอนุพันธ์มีหลักประกัน 2 แบบ คือ
  • หลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) คือ หลักประกันที่วางไว้กับบลจ. เพื่อให้มีสิทธิในการซื้อขาย
  • หลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) คือ หลักประกันที่กำหนดไว้เป็นมูลค่าขั้นต่ำที่ต้องมีในบัญชี
  1. สั่งซื้อขายอนุพันธ์ผ่านมาร์เกตติ้ง ที่จะดำเนินการผ่านระบบอัตโนมัติโดยยึดหลักราคาและเวลาที่ดีที่สุดในการจับคู่ผู้ซื้อกับผู้ขาย โดยกำหนดรายละเอียดต่างๆ ในสัญญาอย่างชัดเจน เช่นประเภทสินค้าอ้างอิง จำนวน ระยะเวลา ราคา
  2. สรุปกำไรขาดทุนเป็นรายวัน ทุกวันทำการ ถ้าราคาที่ผู้ซื้อตั้งไว้ต่ำกว่า ถือว่ากำไร ผู้ซื้อจะได้ส่วนต่าง x จำนวนหน่วยที่ซื้อ ในทางกลับกัน ถ้าตั้งราคาไว้สูงกว่า ผู้ซื้อก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มตามนั้น
  3. กรณีที่นำเงินเข้าบัญชีตามที่กำหนดไว้ไม่ได้ มาร์เก็ตติ้งจะปิดบัญชีผู้ซื้อทันที สถานะการเป็นผู้ซื้อก็จะยุติไปด้วย
  4. ถ้าขาดทุนมากจนรับไม่ไหว จะขายหรือซื้อสัญญาเดิมทิ้งไปก็ได้เช่นกัน

ด้วยระยะเวลาในการได้ผลตอบแทนที่รวดเร็ว และผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึงราวๆ 10 - 15% การลงทุนในอนุพันธ์จึงมีหลายคนอยากลองให้ได้รู้สักตั้ง เพียร์ พาวเวอร์จึงขอย้ำอีกครั้งว่า อนุพันธ์เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมาก จึงควรศึกษาข้อมูลให้มากๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน แต่ถ้าสนใจการลงทุนที่เสี่ยงน้อยกว่า ใช้ระยะเวลานานกว่าแต่ผลตอบแทนใกล้เคียงกัน จะลองลงทุนกับเพียร์ พาวเวอร์ดูก็ไม่ผิดกติกา

______________________________________________________________________________________

คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร